วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ร้านอาหารแนะนำ 10 ร้านก๋วยเตี๋ยวแนะนำ 10 ร้านกาแฟแนะนำ เมืองสุรินทร์


ร้านอาหารแนะนำ 


ลำดับที่

ชื่อร้านอาหาร

เบอร์โทรศัพท์

1

แป๊ะตี๋ Paetee

0 4451 168

2

โคคา Koka

0 4451 2390

3

เซเรเบรส Celeberte

0 44518900

4

เสบียง Sabeang

0 4471 4020

5

โอชิเน สุรินทร์ Oshinei Surin

0 4460 6525

6

ส้มตำเพชรมณี 2 Phetmanee 2

0 4451 6024

7

ส้มตำเจ๊ตุ๊ก Jee Tuk Somtam

08 6865 8893

8

ป้าพิมพ์ปลาเผา Phapim Plaplow

0 4453 1713,08 3777 5068

9

แม่พิมพ์ปลาเผา Maepim Plaplow

0 4451 4771,08 1977 0096

10

จัสอะลิตเติ้ล Just a Little

0 4453 0877

11

ขยมจีนยายฟัก Yai Fak Kanomjean

08 1266 2871

12

ฮากุโซ Ha Ku So

0 4471 3554

13

สุรินทร์วากิว Surin Wagyu

08 8582 6143

14

กรีนเทอร์เรซ&คูโรส Green Terrace & Kurose

08 3859 1102

15

ห้องอาหารเอมอร-สวนป่า Aim On-Suan Pa

0 4452 1412

16

ซิทอิน Sit-In

08 4477 6688

17

ก๋วยยเตี๋ยวตงเฮง  Kuay Tiew Tong Heng

 

18

รูม 30 Room 30

 06 2456 4664

19

ตะวันแดงสาดแสงเดือน Tawan Dang Surin

0 4453 1681,08 6872 2524

20

ท่าพระจันทร์ Tha Pra Jan

08 4606 1333

21

ไลท์เฮ้าส์ คาเฟ่ครีเอชั่น Light House Kafe Creation

09 1020 8883

22

เป็ดย่างคูเมือง Ped Yang Ku Mueang

08 7239 6285

23

ชินโชกุ shinchoku

0 4406 2310

24

ทิพย์รส Thipparot

0 4451 1179

25

ครัวคุณหมอน Chef Morn

06 3624 2266

26

ตำกระเทย  Tumkratoei

08 5499 9450

27

แซ่บนัวร์ Zab Nour

08 9700 3333

28

 ร้านยิ่งดี Ran Ying Dee

0 4451 1925

29

ไวท์เฮ้าส์ The White House

06 5738 3761

30

ข้าวต้มศรีเจริญ Kao Tom Sri Charoen

08 6890 9951

31

ก๋วยเตี๋ยวนัดพบ  Kuay Tiew Nut Pob

06 4096 6662

32

บ้านสวนน้ำ Ban Suan Nam

08 9234 1096








 
10 ร้านก๋วยเตี๋ยวแนะนำ


1. เฮียเกี๊ยก เย็นตาโฟ Hia Keak Yentafo อ.เมือง (ติดกับแม๊คโครสุรินทร์) 044 065 556 
2. สิงห์โต ก๋วยเตี๋ยวหมู Singto Pork Noodle อ.เมือง 0637945654 
3. ถนอมมิตร Thanommit ถ.ปัทมา (ทางไปจอมพระ ขวามือ ผ่านไฟแดง ที่3) 087 5829237 
4. กวยจั๊บพลสุวรรณ Polsuwan Noodle soup สาขา 7 อ.เมือง (ซอยตะวันแดง ขับเข้ามาก่อนถึงโค้งร้าน อยู่ซ้ายมือ) 088 2754535 
5. หนุ่ย เย็นตาโฟ Nui Yentafo อ.เมือง 092 4459691 
6. นกเย็นตาโฟ nok yentafo อ.เมือง 089 115 4293 
7. ก๋วยเตี๋ยวนัดพบ nadphob noodle อ.เมือง 089 283 4114 
8. ภูตา ก๋วยเตี๋ยวเรือ Phu Ta Noodle อ.เมือง (ตรงข้ามนิสสัน) 
 9. ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตงเฮง Dong Heng Beef Noodles อ.เมือง (ใกล้สถานีรถไฟ) 
10. ณ ราดหน้ายอดผักหม้อดิน Na radna yodphak modin อ.เมือง 081-660-4454  

10.ร้านกาแฟที่แนะนำในสุรินทร์ 
1. จัสอะลิตเติ้ลJust a Little อ.เมือง 044060359 
2. คราฟ คาเฟ่ Craft Cafe อ.เมือง 095-6054281 
3.ไลฟ์ คอฟฟี่ แอด โฮม Light coffee at home อ.เมือง 086 866 5503 
4. บาร์ริสต้า Bar Rista อ.เมือง 0887222779 
5. เดอะเค้ก แฟคตอรี่ The Cake Factory อ.เมือง 090-560-5990 
6. ร้านคิดถึง เบเกอร์รี่ KidthuangBakery อ.เมือง 086-4689414,044-512471
7. บ้านเจริญสุข คาเฟ่ CHAROENSUK Cafe’ อ.เมือง 096 195 1556
 8. ฟอร์ฟู่คาเฟ่ For Foo Cafe' อ.เมือง 089-426-9992 
9. หอมมะลิแฟคทอรี่ Hommali Factory อ.จอมพระ 087 255 5657 
10. เดอะนิชคาเฟ่ The Niche Cafe อ.ศีขรภูมิ 088 703 5997

ที่กิน ที่เที่ยว ที่พัก จังหวัดสุรินทร์

 







ตัวอย่างโปรแกรมนำเที่ยว 







                               

   น้องกันตรึม   กันตรึม หรือ โจ๊ะกันตรึม เป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวอีสานใต้ในปัจจุบัน จากการสืบสาวประวัติการเล่นกันตรึม ไม่สามารถได้รายละเอียดมากนัก การแสดงแบบนี้ได้สืบทอดมาจากขอม เดิมทีการละเล่นแบบนี้ ใช้สำหรับขับประกอบการแสดงบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี แต่ปัจจุบันกันตรึมใช้เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงโดยทั่ว ๆ ไปเป็นการละเล่นที่มีมานาน 
น้องข้าวหอม จังหวัดสุรินทร์ ในอดีตประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆ เช่น ชาวไทย-กุย ไทย-ลาว และ ไทย-เขมร ซึ่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวมากมาย รวมถึงการเลี้ยงช้างเพื่อช่วยงานเกษตรกรรมและปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่บริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์และมีปริมาณมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งได้มีการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เกษตรกรมีการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลักจนมีชื่อเสียง ซึ่งชาวสุรินทร์กล่าวว่า “ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ หอม ยาว ขาว นุ่ม”

น้องสะใบนาง  













#งานช้างสุรินทร์  #มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ครบรอบ 60 ปี #60ปีงานช้างสุรินทร์ #เที่ยวสุรินทร์

ข้อมูลเพิ่มเติม  https://www.facebook.com/tatsurin

สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ http://surin.go.th/  จองบัตรเข้าชม และรายละเอียดที่นั่งชมงานแสดงช้าง

ข้อมูลการจัดงานช้างสุรินทร์ ประจำปี2563 https://tatsurinsrisaket.blogspot.com/2020/10/2563.html

รายชื่อที่พักในจังหวัดสุรินทร์  https://tatsurinsrisaket.blogspot.com/2020/10/blog-post.html

รายชื่อที่พักใกล้เคียง จังหวัดศรีสะเกษ  https://tatsurinsrisaket.blogspot.com/2020/10/blog-post_26.html

ร้านอาหารจังหวัดสุรินทร์   10 ร้านก๋วยเตี๋ยว 10 ร้านกาแฟ แนะนำ เมืองสุรินทร์  https://tatsurinsrisaket.blogspot.com/2020/11/10.html

 Down Load ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวแนะนำจังหวัดสุรินทร์  แบบโบชัวร์ สีสันสดใส ชวนอ่าน

วีดีโอ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมออกอากาศรายการแซ่บพาซ่า ช่อง3HD https://www.youtube.com/watch?v=ogQLv-YTXuc

วีดีโอแนะนำเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ https://www.youtube.com/watch?v=BOfu35ho-7M
วีดีโอแนะนำเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ https://www.youtube.com/watch?v=4oJEQuJ_PSk&t=77s
วีดีโอแนะนำ คิดถึงจังหวัดสุรินทร์   https://www.youtube.com/watch?v=wC870Tfe8sM&t=4s
วีดีโอชวนท่องเที่ยวงานช้างฯ https://www.youtube.com/watch?v=9XWCdlSPC-0  
วีดีโอสั้นๆ ภาพรวมการแสดงช้างสุรินทร์ https://www.youtube.com/watch?v=U2oiIjvO8FE
วีดีโอ ขบวนแห่รถอาหารช้าง https://www.youtube.com/watch?v=5rXfMjdvb1I&t=334s
วีดีโอ แสง สี เสียง ปราสาทศีขรภูมิ https://www.youtube.com/watch?v=POoH9SfXFIU
วีดีโอ รถอาหารช้าง https://www.youtube.com/watch?v=5rXfMjdvb1I
วีดีโอ ใส่บาตรเช้าวันเสาร์ ที่สุรินทร์ https://www.youtube.com/watch?v=_zo5iCpnVf0

สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ สอบถามข้อมูลบริษัทนำเที่ยว  https://www.facebook.com/Surin.tourist.association/ 


สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ https://www.facebook.com/prsurin2

ติดตาม ข้อมูลข่าวสาร
https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1FwracP8UzckLC7Jxqs7t-iXOyH4F2GaX


สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์  https://www.facebook.com/cddsurin

TAXI สุรินทร์ ติดต่อสอบถามหรือเรียกใช้บริการได้ที่ 0843346147  https://www.facebook.com/TaxiSurin/

ของฝาก ร้านกุนเชียงห้าดาว https://www.facebook.com/kunchiang5dao

งานช้างสุรินทร์ ภาษาญี่ปุ่น https://www.facebook.com/akaradacha.houdkanta/posts/10157745811683366

ท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชุมชน บ้านสวาย อ.เมืองสุรินทร์ https://tatsurinsrisaket.blogspot.com/2020/11/blog-post_4.html

วิถีเกษตรอินทรีย์ แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม   https://www.satomfarm.com/


แหล่งท่องเที่ยวแนะนำ  เที่ยวเมืองสะเร็น 

ศููนย์คชศึกษา  มาสุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ พลาดไม่ได้ต้องได้ไปเที่ยว

หมู่่บ้านช้าง ตั้งอยู่ที่่บานตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่่าตููม จังหวัดสุุรินทร์ ชาวบ้้านตากลาง ดั้้งเดิมเป็น     ชาวกวยหรือ กูย ในอดีตมีอาชีพ ในการคล้องช้้างป่่ามาฝึกช้างไว้ใช้งานและเป็น สัตว์เลี้ยงประจำครอบครัวสิ่่งที่่น่่าสนใจสำ หรับ หมู่่บ้านช้างคือเป็นชุมชุ นที่่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ของตัวเองที่่ไม่่เหมือนใครทั้งคนและช้้างมีวิถีชีวิติ อยู่่ร่วมกันพึ่่งพาเกื้้อกููลซึ่งกันและกันตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษที่่ผ่่านมานอกจากนี้ภายใน ศููนย์คชศึกษายังมีพิพิธภัณฑ์ช้างที่่รวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับช้าง อุปุกรณ์ต่างๆ ที่่ใช้้ ในการคล้องชางและให้้ความรู้้ในเรื่่องข้้อมููลเกี่ยวกับช้างการแสดงช้างบริการนั่่งช้างชมหมู่บ้้าน และโฮมสเตย์์สำหรัับผู้ต้องการพักค้างแรมและเรียนรู้วถีชีวิตคนกัับช้้าง ศููนย์์คชศึกษา จััดให้มีการแสดงช้้างทุุกวััน ๆละ2 รอบ รอบเช้้าเวลา10.00 น. รอบบ่่าย เวลา14.00 น. อัตราค่่าเข้้าชมชาวไทย คนละ50 บาท ชาวต่่างประเทศคนละ100 บาท นักศึกษา และเด็กที่่มีความสููงกว่่า90เซนติเมตร คนละ20 บาท และนักเรียนในเครื่่องแบบ คนละ10 บาท สามารถติดต่อสอบถามเพิ่่มเติม โทร. 0 4414 5050 การเดินทางจากตัวเมือง     จังหวัดสรินทร์   ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข214(สรินทร์–ร้อยเอ็ด) ถึงกิโลเมตรที่ 36 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหมู่บ้านอีก 22 กิโลเมตร
















********************************************************************************

ศาลหลักเมืองสุรินทร์
ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง เป็นสถานที่สำคัคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 500 เมตรเดิมเป็นศาลที่ยังไม่มีเสาหลักเมือง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้มาจากนายประสิทธิ์มณีกาญจน์  อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเสาไม้สูง  3  เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่  15  มีนาคม 2517




***********************************************************************************************************

อนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง  (ปุม)
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้าเมืองท่านแรกซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งใประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้เดิมเคยเป็นกำแพงเมืองชั้นในของตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถของท่านในการบังคับช้างศึก และเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์รูปปั้นสะพายดาบคู่อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบความกล้าหาญอันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่  13  เมษายน  2528  







ในเช้าวันเสาร์เวลาประมาณ 07.00 น.จะมีการจัดกิจกรรม นุ่งผ้าไหม ใส่บาตรข้าวหอมมะลิ ขอเชิญขวนนักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรม เพื่อความเป็นศิริมงคล ที่ครั้งหนึ่งได่มาเยือนจังหวัดสุรินทร์  


**********************************************************************************************************

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
ตั้งอยู่เลขที่  214  หมู่ 13 ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัด และวิถีชีวิตชาวสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการจัดแสดง 5 เรื่องด้วยกัน     

1) ธรรมชาติวิทยา  

2) ประวัติศาสตร์โบราณคดี  

3) ประวัติศาสตร์เมือง 

4) ชาติพันธุ์วิทยา 

5) มรดกดีเด่น
















**************************************************************

วัดบูรพาราม  อำเภอเมืองสุรินทร์
ตั้งอยู่ที่ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง ใกล้กับศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ 

วัดบูรพารามเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีหรือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุประมาณ 200 ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์  





**********************************************************************************************************

ห้วยเสนง ทะเลอีสาน สุขสำราญที่สุรินทร์
เป็นอ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทานอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปตามหลวงหมายเลข214  (สุรินทร์ ปราสาท) ระยะทาง 5 กิโลเมตร ถึงบริเวณหลักกิโลเมตร 5 - 6 แยกซ้ายมือไปทางถนนริมคลองชลประทานประมาณ 3 กิโลเมตร ห้วยเสนงนี้เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีสันเขื่อนสูงบนสันเขื่อนเป็นถนนลาดยางเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสุรินทร์ และภายในที่ทำการชลประทานมีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกด้วย  








รับส่งตะวัน ที่ห้วยเสนง เมืองสุรินทร์ พักผ่อนหย่อนใจกับบรรยากาศชิวล์ๆ


*****************************************************************************

วนอุทยานพนมสวาย


พนมสวายเป็นภาษาพื้นเมืองสุรินทร์พนมแปลว่า ภูเขา สวายหมายถึง มะม่วงในอดีตบรรพบุรุษสุรินทร์ถือว่าเขาพนมสวายเป็นสถานทีแสวงบุญโดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล  และจวบจนปัจจุบันชาวจังหวัดสุรินทร์ยังถือปฏิบัติเรื่อยมาผู้ที่มาเยือนเขาพนมสวายจะได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเพื่อความเป็นสิริมงคล  เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น.  
โทร. 0 4535 5081   e-mail : reserve@dnp.go.th




วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย หรือเขาสวาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ตำบลนาบัว ตำบลสวาย มีเนื้อที่ 1,975 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาสวายท้องที่ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ "พนมสวาย" เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า "มะม่วง" ในหมู่พนมสวายประกอบด้วภูเขา 3 ลูกติดต่อกันซึ่งมีมีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ "พนมกรอล" แปลว่า "เขาคอก" มีความสูงประมาณ 150 เมตร "พนมเปร๊า แปลว่า "เขาชาย" มีความสูงประมาณ 220 เมตร "พนมสรัย" แปลว่า "เขาหญิง" มีความสูงประมาณ 210 เมตร รวมกันทั้ง 3 ลูก มีชื่อว่า เขาพนมสวาย ความจริงคือ พนมสวายคือ ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงมีลานหินกระจายทั่วไป เนื่องจากวนอุทยานพนมสวายได้สำรวจทั่วบริเวณวนอุทยานพบว่า มีต้นกล้วยไม้ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวนอุทยานได้จัดต้นกล้วยไม้ป่า มาติดไว้ตามต้นไม้ต่างๆ ริมถนน ริมลานจอดรถบ้าง วนอุทยานพนมสวาย ถือว่าเป็นวนอุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวไทยที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เขตอุทยานพนมสวาย เขาพนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากเทือกเขาพนมดงรักประมาณ 50 กิโลเมตร ห่างจากเขาพนมรุ้งประมาณ ๕๐ กิโลเมตร (สามารถมองเห็นพนมรุ้ง และเขากระโดงได้ที่ด้านหลังพระพุทธสุรินทร์มงคล จนเห็นเทือกเขาพนมดงรัก และ เขาพระวิหาร) และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร














****************************************************************************************************

หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง  (กลุ่มจันทร์โสมา)

เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่าทอผ้าไหมมากกว่า 1,000 กว่าตะกอใช้คนทอ 4 – 5  คน 1วันทอได้  6 – 7 เซนติเมตร จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตถกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง “ จันทร์โสมา ” โดยมีอาจารย์วีรธรรม  ตระกูลเงินไทย เป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมาร่วมกลุ่มกันทำงานทอผ้าซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูการทอผ้าไหมที่ผสมผสานกันระหว่างลวดลายการทอแบบราชสำนักไทยโบราณกับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน  ผ่านกรรมวิธีย้อมสีจากธรรมชาติทำให้เกิดลวดลายอันอ่อนช้อยวิจิตรงดงามจนกลายเป็นผืนผ้าไหมยกทองที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 4414 0015
















*************************************************************

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์   พระบรมราชินีนาถ จังหวัดสุรินทร์

ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 3.5 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข  226 (สุรินทร์ –บุรีรัมย์) เป็นสถานที่เรียนรู้กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร AGRO Tourism มีกิจกรรมจัดไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมการผลิตหม่อนไหมในรูปแบบ “ห้องสมุดธรรมชาติ”ภายในพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ จะได้เรียนรู้ขั้นตอนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจรแบบพื้นบ้านชมการสาวไหมการย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติการสร้างลวดลายบนผ้าไหมด้วยการมัดหมี่รวมไปถึงการทอผ้าไหมนอกจากนั้นยังเป็นที่รวบรวมลายผ้าทอทั้งผ้าไหมมัดหมี่  ลวดลายผ้าขาวต่างๆ ของจังหวัดสุรินทร์ และลวดลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นไทย เมืองสุรินทร์ เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา  08.00 – 16.30 น.  ปิดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์  โทร. 0 4451 1393









******************************************************


หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์

 ตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัดสุรินทร์เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมพื้นเมืองที่เรียกว่าผ้าโฮลและการทำเครื่องเงินโบราณ ได้แก่ การผลิตลูกประคำเงินที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านเรียกกันว่า   “ ลูกปะเกือม ”ปะเกือมเป็นการนำแผ่นเงินมาตีเป็นลูกกลมหรือรีเกลี้ยงๆแล้วนำมาลงยาและลงลายต่างๆที่มีความสวยงาม เช่น ลายไข่แมงดา ลายดอกพิกุล ลายดอกทานตะวัน เป็นต้น นิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับของสุภาพสตรี เช่น กำไล เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู เขวาสินรินทร์ เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 08 1309 5352 ,  08 6264 5331, 08 1390 1018


















**************************************************

ปราสาทบ้านไพล                                              

เป็นศาสนสถานศิลปะขอมที่สร้างถวายแด่พระอิศวรตัวปราสาทมีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ สร้างด้วยอิฐขัดตั้งเรียงเป็นแนเดียวกันมีคูน้ำล้อมรอบ  ยกเว้นทางเข้าด้านทิศตะวันออกแม้ว่าศิวลึงค์และทับหลังบางส่วนจะหายไปแต่จากเศษทับหลังที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายทำให้ทราบว่าปราสาทหลังนี้คงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาท เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com



*************************************************

ปราสาทบ้านพลวง                                         

 สุรินทร์ เป็นปราสาทขอมที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์รูปแบบปราสาทเป็นศิลปะขอมแบบบาปวนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 เป็นปราสาทหลังเดียวตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว อีกสามด้านแกะสลักลวดลายเป็นรูปบานประตูปิดเรียกว่าประตูหลอกปราสาทก่อด้วยศิลาแลง และหินทรายเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมสลักลวดลายงดงามมีคูน้ำล้อมรอบ เปิดให้ชมทุกวันระหว่างเวลา  08.00 – 16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10  บาท ชาวต่างประเทศ  50  บาท โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com









*************************************************

โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน                 

เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลังตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน  ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชาการเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางอำเภอปราสาทตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์ – ปราสาท) จนมาถึงทางแยกตัดให้เลี้ยวขวาไปประมาณ 6  กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2397 ประมาณ 30 กิโลเมตรจะพบสามแยกป้อมตำรวจให้เลี้ยวขวาไปประมาณ 19 กิโลเมตร ถึงบ้านตาเมียง เลี้ยวซ้ายไปตามทางบังคับประมาณ 8 กิโลเมตร จะพบปราสาทหลังแรก คือ ปราสาทตามเมือนอยู่ทางซ้ายมือ พนมดรัก เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com

 

**********************************************************

ปราสาทตาเมือน                                              

ศาสนสถานของพุทธศาสนาลัทธิมหายานสร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราช องค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมายปราสาทตาเมือนเป็นศิลปะขอมแบบบายนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย        มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้องยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้าผนังด้านเหนือปิดทึบแต่สลักเป็นหน้าต่างหลอกส่วนด้านใต้มีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอดเคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว  2 – 3  ชิ้น พนมดงรัก เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com


*************************************************

ปราสาทตาเมือนโต๊ด                                   

โต๊ด เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์  ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายมีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหนาเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกันมีซุ้มประตู (โคปุระ) พนมดงรัก เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com




*******************************************

ปราสาทตาเมือนธม                                         

อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200เมตรเป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือนบนแนวเทือกเขาพนมดงรักประกอบด้วยปรางค์สามองค์มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลางปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลัง  ทางด้านขวาและซ้ายปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงามแม้ว่าจะถูกทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พนมดงรัก เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น.

โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com




***********************************

ปราสาทศีขรภูมิ                                                

เป็นปราสาทขอมเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย  ศิลปะขอมแบบบาปวน (พ.ศ. 1550 – 1650)  และแบบนครวัด (พ.ศ. 1650 – 1700) จึงอาจกล่าวได้ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวกลางศตวรรษที่17หรือต้นสมัยนครวัดประกอบด้วยปราสาทก่ออิฐ     จำนวน 5  หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันองค์กลางเป็นปรางค์ประธานมีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน  ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลงปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือ ด้านทิศตะวันออก ศีขรภูมิ เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com

จากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย และในพุทธศตวรรษที่ 22 มีการบูรณะเพิ่มเติมที่องค์ปราสาทแถวหลังฝั่งทิศใต้ เป็นแบบศิลปะล้านช้าง และยังมีจารึกอักษรธรรมปรากฏอยู่ ณ ปราสาทหลังนี้

ปี พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำ พระอาจารย์ของนักเรียนนายร้อย จปร. ได้มาศึกษาที่โบราณสถานแห่งนี้ และก็ได้มีการบูรณะปราสาทศีขรภูมิ ให้ดูงามเด่นเป็นสง่าน่าภาคภูมิใจแก่แขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนเมืองปราสาทหินโบราณแห่งนี้

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ปราสาทศีขรภูมิ มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ เป็นปราสาทก่ออิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน โดยตัวฐานก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยมีคูน้ำกว้าง 125 เมตร ล้อมรอบสามด้าน โดยเว้นด้านตะวันออกอันเป็นทางเข้าไว้

ปรางค์ประธานสูงประมาณ 32 เมตร ทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร ทรงฟ้อนรำอยู่เหนือเกียรติมุข ภายใต้วงโค้งลายท่อนมาลัย ซึ่งสลักเป็นภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมาโดยทับหลังชิ้นนับเป็นทับหลังที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งของเมืองไทย บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว และทวารบาลยืนกุมกระบอง ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ซึ่งไม่พบที่ปราสาทศิลปะเขมรโบราณแห่งใดอีกเลยในประเทศไทย พบที่ปราสาทศีขรภูมิเพียงแห่งเดียวเท่านั้น





































***********************************************
ปราสาทช่างปี่                                                     
เป็นอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานหนึ่งในจำนวน 102 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างขึ้นอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ประกอบไปด้วยปราสาทประธานตั้งตรงกลางทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัยล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วซึ่งมีโคปุระอยู่ทางด้านทิศตะวันออกนอกกำแพงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ                                           
ศีขรภูมิ เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com

 



************************************************

ปราสาทภูมิโปน                                             

ประกอบด้วยโบราณสถาน  4  หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง  และก่อศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัยปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุดนับเป็นปราสาทแบบศิลปะขอมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สังขะ เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com


วิกิพิเดีย

ตำนาน เนียง ด็อฮ ทม ราชธิดาขอมผู้ปกครองเมืองภูมิโปนองค์สุดท้าย เป็นตำนานของปราสาทภูมิโปน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ มีเรื่องเล่าว่า ที่สระลำเจียก ห่างจากตัวปราสาทไปทางทิศตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีกลุ่มต้นลำเจียกขึ้นเป็นพุ่มๆ ต้นลำเจียกที่สระน้ำแห่งนี้ไม่เคยมีดอกเลย ในขณะที่ต้นอื่นๆนอกสระต่างก็มีดอกปกติ ความผิดปกติของต้นลำเจียกที่สระลำเจียกหน้าปราสาทจึงเป็นที่มาของตำนานปราสาทภูมิโปน การสร้างเมืองและการลี้ภัยของราชธิดาขอม

กษัตริย์ขอมองค์หนึ่งได้สร้างเมืองลับไว้กลางป่าใหญ่ชื่อว่าปราสาทภูมิโปน ต่อมาเมื่อเมืองหลวงเกิดความไม่สงบ มีข้าศึกมาประชิดเมือง กษัตริย์ขอมจึงส่งพระราชธิดาพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนลี้ภัยที่ภูมิโปน พระราชธิดานั้นมีพระนามว่า พระนางศรีจันทร์หรือ เนียง ด็อฮ ทม แต่คนทั่วไปมักเรียกนางว่า พระนางนมใหญ่

กล่าวถึงเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งได้ส่งพรานป่าเจ็ดคน พร้อมเสบียงกรังและช้าง 1 เชือก ออกล่าจับสัตว์ป่าเพื่อจะนำมาเลี้ยงในอุทยานของพระองค์ พรานป่ารอนแรมจนมาหยุดพักตั้งห้างล่าสัตว์อยู่ที่ ตระเบีย็ง เปรียน แปลว่าหนองน้ำของนายพราน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านตาพรม ในปัจจุบันในที่สุดกลุ่มพรานสามในเจ็ดคน ก็ดั้นด้นจนไปพบปราสาทภูมิโปน และไปได้ยินกิตติศัพท์ความงามของพระนางศรีจันทร์เข้า พรานทั้งเจ็ดจึงได้ปลักลอบแอบดูพระนางศรีจันทร์สรงน้ำ และเห็นว่านางมีความงามสมคำร่ำลือจริง จึงรีบเดินทางกลับเพื่อไปรายงานพระราชา พระราชายินดีปรีดามาก รีบจัดเตรียมกองทัพเพื่อไปรับนางมาเป็นพระชายาคู่บารมี

ฝ่ายพระนางศรีจันทร์หลังจากวันที่ไปสรงน้ำก็เกิดลางสังหรณ์ กระสับกระส่ายว่ามีคนมาพบที่ซ่อนของนางแล้ว เมื่อบรรทมก็ฝันว่าได้ทำกระทงเสี่ยงทาย ใส่เส้นผมเจ็ดเส้น อันมีกลิ่นหอมและเขียนสาส์นใจความว่าใครเก็บกระทงของนางได้ นางจะยอมเป็นคู่ครอง ในกระทงยังให้ช่างเขียนรูปของนางใส่ลงไปด้วย เมื่อตื่นขึ้นมานางจึงได้จัดการทำตามความฝัน(ด้วยการที่นางเอาผมใส่ในผอบเครื่องหอม ผมนางจึงหอม นางจึงได้ชื่อว่า เนียง ช็อก กระโอบ หรือนางผมหอมอีกชื่อหนึ่ง) และนำกระทงไปลอย ณ สระลำเจียกหน้าปราสาท กระทงของนางได้ลอยไปยังอีกเมืองหนึ่งชื่อว่าเมืองโฮลมาน และราชโอรสของเมืองนี้ได้เก็บกระทงของนางได้ ทันทีที่เจ้าชายเปิดผอบก็หลงรักนางทันที เจ้าชายโอลมานนั้นมีรูปร่างไม่หล่อเหลา แต่มีฤทธานุภาพมากในเรื่องเวทมนตร์คาถาและได้ชื่อว่ารักษาคำสัตย์เป็นที่ตั้ง พระองค์จึงไปสู่ขอนางตามประเพณีเพราะเป็นผู้เก็บผอบได้ แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร เมื่อพระนางศรีจันทร์ได้เห็นรูปร่างของเจ้าชายโฮลมานนางจึงได้แต่นิ่งอึ้งและร้องไห้ เจ้าชายโฮลมานทรงเข้าพระทัยดีเพราะรู้ตัวว่าตัวเองมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่ด้วยความรักที่พระองค์มีต่อพระนางศรีจันทร์ พระองค์จึงไม่บังคับที่จะเอาตัวนางมาเป็นชายา กลับช่วยพระนางขุดสระสร้างกำแพงเมือง และสร้างกลองชัยเอาไว้ เพื่อให้พระนางตียามมีเหตุเดือดร้อนต้องการให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์จะมาช่วยเหลือนางโดยทันที โดยห้ามตีด้วยเหตุไม่จำเป็นเป็นอันขาด

กล่าวถึงชายหนุ่มอีกคนหนึ่งที่มาหลงรักพระนางศรีจันทร์ นั่นคือบุญจันทร์นายทหารคนสนิท ที่พระราชบิดาของพระนางศรีจันทร์ไว้วางพระราชหฤทัย ให้รับใช้ใกล้ชิดพระนางศรีจันทร์ ด้วยความใกล้ชิดทำให้บุญจันทร์หลงรักพระนางศรีจันทร์ แต่พระนางศรีจันทร์ก็ไม่ได้มีใจตอบกับบุญจันทร์ ยังคงคิดกับบุญจันทร์แค่เพื่อนสนิทเท่านั้น วันหนึ่งบุญจันทร์ได้เห็นกลองชัยที่เจ้าชายโฮลมานให้พระนางไว้ ก็นึกอยากตี จึงไปร่ำร้องกับพระนางทุกเช้าเย็น อยากจะขอลองตีกลอง พระนางทนไม่ไหวพูดประชดทำนองว่า ถ้าอยากตีก็ตีไป เพราะคงจะไม่ได้พบกันอีกแล้ว บุญจันทร์หน้ามืดตามัวด้วยคิดว่านางมีใจให้เจ้าชายโฮลมาน ก็ไปตีกลอง เจ้าชายโฮลมานและไพร่พลก็ปรากฏตัวขึ้นทันที เพราะนึกว่าพระนางศรีจันทร์มีเหตุร้าย พระนางศรีจันทร์เสียใจมาก เมื่อต้องบอกถึงเหตุผลที่ตีกลองให้เจ้าชายทราบ เจ้าชายโฮลมานตำหนิพระนาง และเป็นอันสิ้นสุดสัญญาที่ให้ไว้กับพระนางทันที พระองค์จะไม่มาช่วยเหลือพระนางอีกแล้วแม้จะตีกลองเท่าไหร่ก็ตาม

กล่าวฝ่ายพระราชาที่ส่งพรานป่าเจ็ดคน มาล่าสัตว์แล้วมาพบพระนางในตอนแรกนั้น ก็ส่งทัพมาล้อมเมืองภูมิโปนไว้ พระนางจึงหนีเข้าไปหลบภัยในปราสาทและคิดที่จะยอมตายเสียดีกว่า เพราะคนที่มาหลงรักพระนางแต่ละคนนั้น คนหนึ่งแม้จะเพียบพร้อมก็มีความอัปลักษณ์ คนหนึ่งก็มีความต่างศักดิ์ ด้านชนชั้นจนไม่อาจจะรักกันได้ และยังมีข้าศึกมาประชิดเมืองหมายจะเอาพระนางไปเป็นชายาอีก พระนางจึงพยายามหลบไปด้านที่มีการยิงปืนใหญ่ ตั้งใจจะโดนกระสุนให้ตาย แต่พระนางก็กลับไม่ตายแต่ได้รับบาดเจ็บ แขนซ้ายหักและมีแผลเหนือราวนมด้านซ้ายเล็กน้อย(ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านดม-ภูมิโปนจะสังเกตเด็กผู้หญิงคนใดมีลักษณะแขนด้านซ้ายเหมือนเคยหัก และมีแผลเป็นเหนือราวนมด้านซ้าย จะสันนิษฐานว่าพระนางด็อฮ ทม กลับชาติมาเกิด) เมื่อพระราชาตีเข้าเมืองได้จึงรีบรักษานาง ไม่ช้าพระนางก็หาย พระราชาจึงเตรียมยกทัพกลับและจะนำพระนางกลับเมืองด้วย พระนางจึงขออนุญาตพระราชาเป็นครั้งสุดท้ายขอไปอาบน้ำที่สระลำเจียก และปลูกต้นลำเจียกไว้กอหนึ่ง พร้อมกับอธิษฐานว่าถ้าพระนางยังไม่กลับมาที่นี่ขอให้ต้นลำเจียก อย่าได้ออกดอกอีกเลย หลังจากนั้นพระนางก็ถูกนำสู่นครทางทิศตะวันตก ไปทางบ้านศรีจรูก พักทัพและฆ่าหมูกินที่นั่น (ซี จรูกแปลว่ากินหมู) ทัพหลังตามไปทันที่บ้านทัพทัน (ซึ่งกลายเป็นชื่อบ้านในปัจจุบัน) และเดินทางต่อมายังบ้านลำดวน พักนอนที่นั่น มีการเลี้ยงฉลองรำไปล้มไป รำล้มในภาษาเขมรคือ เรือ็ม ดูล ซึ่งเป็นชื่อของ อ.ลำดวนในปัจจุบัน

ดังนั้นคำว่าภูมิโปน จึงมีความหมายโดยรวมว่า หมู่บ้านแห่งการหลบซ่อน (ภูมิ แปลว่า หมู่บ้าน โปน แปลว่า หลบซ่อน อีกความหมายหนึ่งแปลว่า มะกอก)

การเดินทางากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สุรินทร์ - สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะ เข้าทางหลวง หมายเลข 2124 (สังขะ - บัวเชด) ตรงต่อไป จนถึง ชุมชนบ้านภูมิโปน ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาท ตั้งอยู่ริมถนน ด้านซ้ายมือ


**********************************************

ปราสาทยายเหงา                                               

เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในศิลปะขอมราวพุทธศตวรรษที่ 17 ประกอบด้วยปราสาทสองหลัง ตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือ – ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ก่อสร้างด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงมีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลาย เช่นที่กรอบหน้าบันเป็นรูปมกร(สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ และปลา )คาบนาค 5 เศียร จากลักษณะแผนผังของอาคารปราสาทยายเหงาน่าจะประกอบด้วย  ปราสามสามหลังตั้งเรียงกันแต่ปัจจุบันเหลือเพียงสองหลังเท่านั้น ภายในบริเวณปราสาทพบกลีบขนุน ยอดปราสาทเสาประดับกรอบประตูแกะสลักจากหินทราย                                  สังขะ เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com



*******************************************

วนอุทยานป่าสนหนองคู                                   

เป็นป่าสงวนแห่งชาติภายใต้การดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 9  (อุบลราชธานี) มีเนื้อที่ 6,250 ไร่ เป็นป่าสนสองใบที่ขึ้นในที่ราบแห่งเดียวในประเทศไทย สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีสภาพป่าที่สวยงาม ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สนสองใบ (Pinus  merkusii)  สังขะ เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น.



********************************************

ปราสาทจอมพระ                                             

เป็นปราสาทขอมประเภทอโรคยาศาลหรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ศิลปะขอมแบบบายน  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 มี ศิลาจารึกเป็นอักษรขอม ภาษสันสกฤต เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอโรคยาศาลซึ่งเป็นเนิ้อหาเดียวกันกับจารึกปราสาทตาเมืองโต๊ด จอมพระ เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0 44513358 หรือ  www.thailandmuseum.com



***********************************************

วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร                               

 เป็นพุทธอุทยานแห่งแรกของประเทศไทยพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์ที่สมบูรณ์เกือบทั้งหมด และมีเนื้อที่กว้างถึง 10,865  ไร่  ได้รับอนุญาตจากรมป่าไม้ผ่านกรมการศาสนาให้วัดเป็นผู้ดูแล เพื่อจัดสร้างโครงการพุทธอุทยาน และเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรม-ราชินีนาถ ตามพระราชเสาวนีย์  บัวเชด เปิดบริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์    เวลา 08.30-16.30 น. โทร.  08 9033 3164  















********************************************