ลายผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่าสนใจยิ่งหากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้วจะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่าจังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่างๆซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหมการผลิตเส้นไหมน้อยและกรรมวิธีการทอจังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย(ภาษาเขมร
เรียก “โซกซัก”)มาใช้ในการทอผ้าไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็กเรียบนิ่มเวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบายนอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อนและเป็นกรรมวิธีที่ยากซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง
เช่น
การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัวซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่ามีการทอที่เดียวใบประเทศไทยจนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงรับสั่งว่าใส่แล้วเย็นสบายอีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ภาพของลายผ้าไหมที่มีความสวยงามความประณีตความละเอียดอ่อนและความใสใจของผู้ที่ทอผ้าไหมเพื่อที่จะให้ลายของผ้าแต่ละลายออกมามีความสวยงามน่าประทับใจและยังเป็นที่น่าภาคภูมิใจมากสำหรับชาวสุรินทร์ของเราที่สามารถมีลวดลายผ้าไหมที่ออกมาสวยงามได้มากขนาดนี้ตัวอย่างของลายผ้าไหมที่มีความสวยงามละเอียดอ่อนและมีประวัติที่ยาวนาน
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
1.มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชาและลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
2.นิยมใช้ไหมน้อยในการทอซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหมมีลักษณะนุ่มเรียบเงางาม
3.นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด
มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่นน้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง
อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้
4.ฝีมือการทอจะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต
รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปะที่สวยงามกว่าปกติ
5.แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง
และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักมิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใดจนมีคำกล่าวทั่วไปว่า “พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก”
แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์
จึงมีเกือบทุกหมู่บ้านผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม
และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่างๆ
ได้มากมายหลายแห่งลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6
ประเภท คือ
ผ้าไหมมัดหมี่
1.มัดหมี่โฮล หรือ จองโฮล(จองเป็นภาษาเขมร หมายถึง ผูกหรือมัด)
หรือ
ซัมป็วตโฮลเป็นหนึ่งในผ้าไหมมัดหมี่ของเมืองสุรินทร์มัดหมี่แม่ลายโฮลถือเป็นแม่ลายหลักของผ้ามัดหมี่สุรินทร์ที่มีกรรมวิธีการมัดย้อมด้วยวิธีเฉพาะไม่เหมือนที่ใดๆความโดดเด่นของการมัดย้อมแบบจองโฮลคือในการมัดย้อมแบบเดียวนี้
สามารถทอได้ 2 ลาย คือ โฮลผู้หญิง (โฮลแสร็ย) หรือผ้าโฮลธรรมดา
และสามารถทอเป็นผ้าโฮลผู้ชาย (โฮลเปราะฮ์) ไว้นุ่งในงานพิธีต่างๆ
ผ้าโฮล ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าไหม ในงาน “มหกรรมผ้าไทยเทิดไท้องค์ราชินี”เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2545 ณ
ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์สาขาบางกะปิกรุงเทพฯซึ่งจัดโดยกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย
ผ้าโฮล เป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น
นิยมใช้เส้นไหมน้อยในการทอ มีการมัดย้อมเส้นพุ่งด้วยวิธีการเฉพาะเรียกว่า จนองโฮล
โดยการมัดหมี่ผ้าโฮลนิยมมัดหมี่ 21 ลำซึ่งการมัดหมี่เพียงหนึ่งลาย สามารถทอได้ถึง 4 แบบด้วยกัน ได้แก่ (ลายโฮลผู้ชาย)ผ้าโฮลสะไรย์ (ลายโฮลธรรมดา
หรือโฮลผู้หญิง) ผ้าโฮลเกียรติ และผ้าโฮลปะนะในการค้นลำมัดหมี่
มัดหมี่โฮลแต่ละลำจะเป็นอิสระต่อกันการทอจะใช้เทคนิคการทอพิเศษโดยการทอผ้าให้ลายเฉียงขึ้นเรียกว่า “ปะน๊ะ” การมัดย้อมจะนิยมใช้สีธรรมชาติและมัดย้อมหลายครั้งละเอียดทุกขั้นตอน
การย้อมสีผ้าโฮล
คือจะต้องให้ครูทอผ้ามาสอนวิธีการย้อมเสียก่อนเพราะถือกันว่าเป็นผ้าครูที่จะต้องผ่านกระบวนการครอบบครูเสียก่อนผ้าโฮลมี 5 สี ได้แก่ สีดำ, แดง,เหลือง,น้ำเงิน และเขียว สีเหล่านี้ได้จากการย้อมด้วยสีธรรมชาติ เนื้อผ้ามักมี 2 สี ด้านหน้าเป็นสีอ่อน อีกด้านหนึ่งเป็นสีเข้มกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น