วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565

ท่องเที่ยวสายมู @ สุรินทร์ ศรีสะเกษ


ท่องเที่ยวสายมู @ สุรินทร์ ศรีสะเกษ


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วัดบูรพาราม  อ.เมืองสุรินร์ จังหวดสุรินทร์

            วัดบูรพาราม เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีหรือ ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์ สร้างโดย พระยาสุรินทร์ศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรกสร้างเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๐๐ ถึง ๒๓๓๐ โดยประชาชนร่วมกันสร้างขึ้น เรียกว่า "วัดบูรพ์" เดิมเป็นวัดมหานิกายเป็นวัดเก่าแก่มีพัฒนาการที่ยาวนานตามยุคตามสมัย ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโสอ้วน) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล และอนุมัติให้วัดบูรณ์เป็นวัดในสังกัดธรรมยุตและได้นิมนต์พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ซึ่งปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานอยู่ให้มาประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส และร่วมเป็นคณะพระสังฆาธิการ
            หลวงพ่อพระชีว์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ประดิษฐาน ณ วัดบูรพาราม ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ใกล้ศาลากลางจังหวัด หลวงพ่อพระชีว์หรือหลวงพ่อประจีองค์นี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด คาดว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม รับเป็นปูชนียวัตถุ ที่ชาวสุรินทร์เคารพบูชาถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของเมืองสุรินทร์ วัดบูรพารามได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐  

การเดินทาง :

สอบถามข้อมูล :



 


............................................................................................

ศาลหลักเมืองสุรินทร์ 

            เป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตรตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง เป็นสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นศาลที่ยังไม่มีเสาหลักเมือง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517 ศาลหลักเมืองสุรินทร์เดิมเป็นศาลที่ยังไม่มีเสาหลักเมืองแต่มีความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานนับ 100 ปี ครั้ง พ.ศ. 2511 จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการขอให้กรมศิลปากรออกแบบแปลนก่อสร้างตัวศาลหลักเมือง เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ซึ่งได้รับมอบมาจาก นายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ ราษฎร อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีความสูง 3 เมตรวัดรอบได้ 1 เมตรแกะสลักตกแต่งด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร ต่อมา วันที่ 21 ส.ค. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานดำรัสว่า "การสร้างเสาหลักเมืองนี้ดี เป็นหลักแหล่งความสามัคคี ขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความสามัคคีกัน สร้างความเจริญก้าวหน้า และขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความร่มเย็นเป็นสุข" นายสงวน สาริตานนท์ ผวจ.สุรินทร์ ในสมัยนั้น ได้อัญเชิญเสาหลักเมืองมายังจังหวัดสุรินทร์ มีการแห่ไปรอบเมืองและอัญเชิญเสาหลักเมืองขึ้นบนแท่นประดิษฐานไว้ที่ศาลหลักเมือง และเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2517 ได้ประกอบพิธียกเสาหลักเมือง และมีพิธีฉลองสมโภช ก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น เมื่อชาวบ้านพบถนนคอนกรีตที่ใช้เป็นสัญจรไปมา ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณศาล มีรอยแยกของถนนอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาถนนเริ่มยกตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ รถยนต์วิ่งผ่านไม่สะดวก หรือบางคันที่วิ่งผ่านต้องมีเหตุให้เครื่องยนต์ดับ จนต้องหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางบริเวณจุดตรงนี้ จากความผิดสังเกตของรอยแตกและยกตัวของถนนคอนกรีต จนสามารถมองเห็นช่องเป็นโพรงใหญ่อย่างชัดเจน ชาวบ้านบางคนลองเอามือล้วงเข้าไปในโพรงดังกล่าว บอกว่ารู้สึกถึงไอความร้อน ณ บริเวณนั้น จนอดที่จะแปลกใจกับเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้ เมื่อแรกขุดเจอพระพุทธรูปนาคปรก ต่อมาก็ได้พบกับวัตถุโบราณในบริเวณใกล้เคียง มีทั้งเครื่องลางรูปพญานาคที่ทำด้วยทองเหลือง เครื่องลางเป็นรูปพระนารายณ์นั่งคู่กับพระนางลักษมี ซึ่งมีพระพิฆเณศอยู่ตรงกลางด้านหน้าทำด้วยทองเหลือง รวมทั้งพระเครื่องดินเผาและกำไลโบราณทั้งหมดจำนวนมาก อายุราว 200 ปี เมื่อได้ขุดลึกลงไปอีกจึงได้พบกับเครื่องปั้นภาชนะดินเผา เชื่อว่าน่าจะมีการสร้างสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1,500-2,000 ปี สร้างความฮือฮาให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก ชาวบ้านได้นำมาตั้งไว้บูชา ณ ศาลหลักเมืองที่บริเวณใกล้เคียง สอบถามข้อมูลติดต่อ ททท.สำนักงานสุรินทร์ 0 4451 4447-8 

การเดินทาง :

สอบถามข้อมูล : 



...........................................................................

วนอุทยานพนมสวาย 

        วนอุทยานพนมสวาย อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ ห่างจากตัวเมืองไป 22 กม. เขาพนมสวายเป็นพื้นที่ที่เคยเป็นภูเขาไฟ (ปัจจุบันดับสนิทแล้ว) มีลักษณะเป็นภูเขาเตี้ยๆ มี 3ยอด คือ เขาชาย (เขาพนมเปราะ) เขาหญิง (เขาพนมสรัย)และเขาคอก(เขาพนมกรอล) ตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันชาวสุรินทร์ถือว่าเขาพนมสวายเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นสถานที่แสวงบุญ โดยทุกวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 จะมีประเพณีเดินขึ้นเขาพนมสวายจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีจากบริเวณจุดจอดรถก่อนที่จะไปเขาทั้ง ยอดเราแวะมาที่เจดีย์หลวงปู่ดุลย์เพื่อมากราบสักการะรูปเหมือนและอัฐิของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล เกจิแห่งเมืองสุรินทร์เพื่อเป็นสิริมงคลกัน
          จากบริเวณจุดจอดรถก่อนที่จะไปเขาทั้ง 3 ยอด เราแวะมาที่เจดีย์หลวงปู่ดุลย์เพื่อมากราบสักการะรูปเหมือนและอัฐิของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล เกจิแห่งเมืองสุรินทร์เพื่อเป็นสิริมงคลกันก่อนก่อนจะไปที่ เขาคอกที่อยู่ใกล้ๆ กันบนยอดเขาคอกเป็นคือศาลาอัฐมุขที่ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองและใกล้ๆกันนั้นมีศาลาเจ้าแม่กวนอิมให้สักการะกันด้วย
          จากนั้นเดินเท้าไปที่ "เขาชาย" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระใหญ่หรือ พระพุทธสุรินทรมงคล พระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 15 ม. ความสูง 21.50 ม. อีกทั้งบันไดทางขึ้นสู่องค์พระยังมีระฆังแขวนเรียงรายตลอดเส้นทาง ซึ่งหากนับรวมระฆังทั้งหมดมีจำนวนถึง 1,080 ใบ เลยทีเดียวด้านบนเขายังสามารถมองเห็นร่องรอยของปากปล่องภูเขาไฟในอดีตได้อีกด้วย



................................................................................

วัดป่าอาเจียง

            วัดป่าอาเจียง เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง ตลอดทั้งช้างกับพระพุทธศาสนาให้ครบวงจรอยู่ในสถานที่เดียวกัน สำหรับสุสานช้างนั้นพระครูสมุห์หาญ ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ เกี่ยวเนื่องกับในอดีตวัยเด็กท่านมีความผูกพันกับช้าง "พังคำมูล" และเมื่อช้างถูกรถชนตายท่านจึงนำกระดูก "พังคำมูล" นำมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ช้างและฝัง เมื่อชาวบ้านทราบก็ไปขุดเอากระดูกช้างที่เขาฝังไว้ตามไร้นา มากองให้ที่วัด จึงเป็นเหตุให้ต้องทำเป็นหลุมฝังศพช้าง แรกเริ่มก็ ๔๗ หลุม ปัจจุบันนี้ร้อยกว่าหลุมแล้ว การขนย้ายจะเห็นได้ว่าเป็นความผูกพันระหว่างคนกับช้าง  ที่มีสายใยสายสัมพันธ์ประหนึ่งคนในครอบครัว ปัจจุบันวัดป่าอาเจียง อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยนักท่องเที่ยวเมื่อมาเที่ยวชมหมู่บ้านช้างตากลาง ให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมวิถีชีวิตช้าง วิถีชีวิตคน สามารถแวะทำบุญเช่าวัตถุมงคลวัดป่าอาเจียง เพื่อสมทบทุนในการทำสุสานช้างหรือ การเคลื่อนย้ายกระดูกช้างเพื่อเอามาบรรจุในสุสานช้างก็ติดต่อได้ที่วัดป่าอาเจียง
    ประวัติความเป็นมาของวัด และชุมชน วัดป่าอาเจียง ตั้งอยู่บ้านหนองบัว  หมู่ที่ ๑๔  ตำบลกระโพ อำเภอ  ท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ในกลุ่มหมู่บ้านเลี้ยงช้างแถบลุ่มน้ำชี-น้ำมูล  เวลามีงานทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมจารีตประเพณีวิถีชีวิต ในเทศกาลต่างๆ  ผู้นำชุมชนก็จะนำพาชาวบ้านไปร่วมงานทำบุญกับหมู่บ้านอื่นที่มีวัด  แม้จะทุ่มเททำอะไรลงไปก็ไม่มีใครเห็นคุณค่า  จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันภายในชุมชนของตนคิดสร้างวัดประจำชุมชนของตน  ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคนกับช้าง  ให้ครบวงจรอยู่ในสถานที่เดียวกัน ชื่อวัดป่าอาเจียง
    ที่มาของชื่อชุมชนท่องเที่ยวเชิงศาสนา  คำว่า อาเจียง เป็นภาษากูย (ส่วย) ซึ่งแปลว่าช้าง


การเดินทาง : โดยรถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถจาก บขส.สุรินทร์ โดยรถประจำทางสายสุรินทร์ – สตึก ลงที่อำเภอจอมพระ ขึ้นรถสองแถวสายจอมพระ- กระโพ ลงที่วัดป่าอาเจียงได้
 รถส่วนตัว เดินทางจากสุรินทร์ ไปตามถนนสายสุรินทร์-จอมพระหมายเลข 214 ระยะทางประมาณ 39 กิโลเมตร เลี้ยวขวา ไปตามเส้นทางหมายเลข 3027 ประมาณ 21 กิโลเมตร





บุญเดือนห้ามหาสงกรานต์ เที่ยวรอดปลอดภัย @ ศรีสะเกษ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต)


            พระอารามหลวงเป็นวัดสำคัญที่เก่าแก่ของจังหวัดศรีสะเกษโดยเมื่อปี พ.ศ.2322 พระยาวิเศษภักดี (เจ้าเมืองศรีสะเกษคนที่ 2) ได้ย้ายเมืองจากเดิมที่บ้านโนนสามขาสระกำแพงมายังเมืองศรีสะเกษซึ่งในขณะนั้นมีผู้พบหลวงพ่อโตถูกทิ้งร้างอยู่ใจกลางป่าแดงจึงได้มีการจัดสร้างวัดขึ้นโดยใช้ชื่อว่าวัดพระโตหรือวัดป่าแดงต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดมหาพุทธารามหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษและเป็นที่เคารพสักการะของชาวศรีสะเกษและผู้มาเยือน กราบไหว้พระคู่เมืองศรีสะเกษแล้วเดินทางไปยัง อำเภออุทุมพรพิสัย กราบไหว้และชมความงามของ

การเดินทาง : 

สอบถามข้อมูล :

....................................................................................................................

ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่


                ปราสาทขอม โบราณสถานที่มีอายุกว่า 1,000 ปี เป็นปราสาทหินขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดภายในวัดมีสรีระของหลวงปู่เครื่องสุภัทโทอดีตเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ ซึ่งเป็นเกจิชื่อดังของจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อยู่หลายแห่ง ทั้งอุโบสถพญานาคที่ประดิษฐานพระเมี๊ยะมุนีจำลองรูปหล่อหลวงปู่เครื่ององค์ใหญ่ ถ้ำเงินถ้ำทองเพื่อความเป็นศิริมงคล และอีกที่ที่ห้ามพลาดถ้าเดินทางมายังจังหวัดศรีสะเกษ 

การเดินทาง :

สอบถามข้อมูล :

.................................................................................................

วัดป่าศรีมงคลรัตนาราม 



            อลังการถ้ำวังบาดาล หรือ ถ้ำพญานาค วัดป่าศรีมงคลรัตนาราม ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษความงดงามของถ้ำแห่งนี้สร้างขึ้นจากความศัทธาในเรื่องของพญานาคซึ่งครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นพญานาคทางเจ้าอาวาสและผู้มีจิตศรัทธาจึงได้ร่วมกันสร้างโบสถ์ที่ประดิษฐ์สถานพระพุทธรูปคล้ายกับวังพญานาคในวรรณคดีภายในถ้ำมีความอลังการด้วยรูปปั้นพญานาคที่อ่อนช้อยงดงามรวมทั้งการจำลองหินงอกหินย้อยประดับด้วยหลอดไฟหลากสีให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในถ้ำพญานาคใต้น้ำที่ดูลึกลับและศักดิ์สิทธิ์

การเดินทาง :

สอบถามข้อมูล :


    ..................................................................................

วัดไพรพัฒนาราม



             ริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ปี พ.ศ. 2550 ตั้งอยู่เลขที่ 258 หมู่ที่ 3 ตำบล ไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพระครูโกศลสิกขกิจ หรือหลวงพ ่อพุฒ วายาโม เป็นเจ้าอาวาสวัด มีพระสงฆ์สามเณรในสังกัด 20 รูป และวัดไพรพัฒนายังขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานบรรจุไว้ ณ มณฑปปราสาทหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา และเป็นสถานที่ตั้งสรีระสังขารของหลวงปู่สรวง ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่ เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดศรีสะเกษและประชาชนทั่วไปได้มาเคารพกราบไหว้ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา

การเดินทาง :

สอบถามข้อมูล :