วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เที่ยวชุมชน คนเมืองช้าง สัมผัสวิถีเรียบง่าย ยลความงดงามของปราสาท วิถีแห่งไหม ความหลากหลายแห่งวัฒนธรรม ทานข้าวหอมะลิที่อร่อยที่สุดในโลก ที่สุรินทร์


ท่องเที่ยวชุมชน สัมผัสเสน่ห์ เมืองสุรินทร์ 










*************************************


1. หมู่บ้านกระทม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์




    บ้านไหมทองสะเร็น หมู่บ้านกระทม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชนคนกับไหม บรรยากาศเป็นไปอย่างร่มรื่นและสวยงามด้วยการแต่งกายด้วยผ้าไหมโบราณของชาวสุรินทร์ ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านโอทอปนวัตวิถี อยากให้ชุมชนมีรายได้ เพราะว่างานเหล่านี้เป็นงานที่บรรพบุรุษเราทำมาต่อเนื่องเป็นภูมิปัญญา หากต้องนี้เกิดขึ้นได้ ทุกคนก็จะมีรายได้ไม่ต้องลำบาก ทุกคนมีอาชีพมีรายได้ มีความสุขความสบาย ครอบครัวอบอุ่น ศูนย์เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวได้เลยเปิดทุกวัน มีพิพิธภัณฑ์แสดงนิทรรศการผ้าไหมโบราณตั้งแต่ 200 ปี และแสดงให้เห็นตั้งแต่เฟือมเป็นไม้จนเป็นแสตนเลทในยุคปัจจุบัน สำรับผู้ที่สนใจมาชมได้ที่บ้านกระทม หมู่ 8 ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ที่ศูนย์เรียนรู้หรือวิสาหกิจชุมชน ศูนย์เรียนรู้ไหมทองสะเร็น





2. หมู่บ้านสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์






    ถ้าเปรียบสุรินทร์เป็นถิ่นผ้าไหมงาม “บ้านสวาย” ก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมการทอผ้ามายาวนานหลายร้อยปี บ้านสวายมีชื่อเสียงด้านการผลิตผ้าไหมที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของสุรินทร์ จุดเด่นอยู่ที่กรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อนมีความยาก ต้องใช้ความสามารถ และอาศัยทักษะความชำนาญในการทอ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมมัดหมี่ยกดอก ซึ่งทำให้ผ้ามีเนื้อแน่นใส่ได้ทนทาน ทว่ายังความนุ่มพลิ้วไหวและระบายอากาศได้ดีเยี่ยม กว่า 70 เปอร์เซนต์ ของคนในชุมชนนี้ ยังคงสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้า และรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มหัตถกรรมสตรีทอผ้าไหมบ้านสวาย เพื่อพัฒนางานแขนงนี้มิให้สูญหาย





3. หมู่บ้านบุทม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์





    หมู่บ้านจักสานตะกร้าหวาย โดดเด่นรับ หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ไปชมหมู่บ้านหัตถกรรมหวาย ชอบปิ้งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากหวาย งานทำมือฝีมือประณีต ทนทานกันค่ะ หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง ในช่วงนอกฤดูทำนาชาวบ้านจะมีอาชีพพิเศษคือการสานตะกร้าและภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากหวายเส้นเล็ก เรียกว่า “หวายหางหนู” โดยจะไม่ลงแล็คเกอร์ หากใช้ไปแล้วมีเชื้อราให้รักษาโดยใช้ผลมะเฟืองสุกรสเปรี้ยว มะนาว หรือ…มะกรูดมาถูจากนั้นล้างน้ำให้สะอาดผึ่งแดดให้แห้งภาชนะก็จะมันเงาเหมือนเดิมค่ะ






4. หมู่บ้านเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์






    ชุมชน OTOP นวัตวิถี บ้านเทนมีย์ เล่าว่า ผู้นำชุมชนร่วมกับชาวบ้านเทนมีย์ ได้จัดตั้งกลุ่ม OTOP ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าไหม ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี “ไทยนิยม ยั่งยืน”โดยใช้พื้นที่ศาลาประชาคมหมู่บ้าน จะตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ และวางจำหน่ายสินค้าที่ชาวบ้านในชุมชนร่วมกันผลิต สร้างรายได้ให้กับชุมชน 5,000-6,000 บาทต่อเดือน นอกจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผ้าถุงผ้าซิ่นไหมสุรินทร์แท้ 100%แล้ว ชาวบ้านในชุมชนยังแปรรูปผ้าไหมให้เป็น ผ้าพันคอ พวงกุญแจ กระเป๋า และของชำร่วยอีกด้วย ซึ่งสินค้าทั้งหมดที่ผลิตจำหน่ายมีราคาตั้งแต่หลัก 10-1,000 บาท ถือว่าสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านและชุมชนได้เป็นอย่างดี







5. หมู่บ้านดงมัน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์







    หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านดงมัน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร บ้านดงมันเป็นหมู่บ้านที่ยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวสุรินทร์ไว้ได้มาก เช่น การละเล่นพื้นเมือง การขับเจรียง ร้องกันตรึม เรือมอันเร ประเพณีประจำเทศกาลต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น






6. หมู่บ้านโคกกระชาย อำเภอเมือง
 จังหวัดสุรินทร์





    บ้านโคกระชาย ถือได้ว่าเป็นอีกชุมชนที่มีวิถีชีวิตแบบเศรฐกิจพอเพียงและทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน และคนในท้องถิ่นได้ยึดหลักเศรฐกิจพอเพียง มีรายได้และพึ่งพอตนเองได้ เสน่ห์ของที่นี่มีแหล่งการเรียนรู้วิถีเกษตรพอเพียง มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยท้องทุ่งเขียวชะอุ่มไปด้วยพื้นที่ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ในฤดูทำนา คือ ข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์






7. หมู่บ้านรัตนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์





    วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ ชุมชน OTOP นวัตวิถีบ้านรัตนะ หมู่ 2 ตำบลบุฤาษี โดยมี นายบุญเลี้ยง เรียมทอง ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นางสุขใจ จินดาพล พัฒนาการอำเภอเมืองสุรินทร์ นางสาวจิรฐา ไชยชนะไพศาล นายก อบต.บุฤาษี เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสุรินทร์ พนักงานจาก อบต.บุฤาษี กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบุฤาษี กลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ตำบลบุฤาษี และ ชาวบ้านรัตนะ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมจัดกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวฯ อินทรีย์ วิถีสุรินทร์ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เพื่อให้มีศักยภาพ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม ให้สามารถสร้างรายได้ และการกระจายรายจากการท่องเที่ยวสู่ชุมชนได้






8. หมู่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์






    บ้านท่าสว่าง  ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรมผ้าไหมแห่งเดียวของประเทศ เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าไหมโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ ด้วยเทคนิคการทอผ้ายกทองแบบโบราณผสานกับลวดลายที่วิจิตรงดงาม โดยการทอผ้าแต่ละผืนต้องใช้คนทอเป็นจำนวนมากและใช้เวลาในการทอนานหลายเดือน มีลวดลายที่ละเอียดสวยงามเป็นเอกลักษณ์ เนื้อละเอียดนุ่มแน่นชนิดจับต้องได้  จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ทอผ้าไหมยกทองโบราณเพื่อมอบให้กับผู้นำเอเปค เมื่อปี พ.ศ.2546 จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านหัตกรรมที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์
    ผ้าไหมบ้านท่าสว่าง มีจุดเด่นพิเศษกว่าที่อื่น คือ “ไหมน้อย” ที่ละเอียดนุ่มนวล สาวและทอได้ยากยิ่ง จนเริ่มจะเลือนหายไป แทบไม่มีใครทราบว่าช่างที่นี่ทอไหมน้อยได้จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชปรารภว่า “สมัยก่อนผ้าไหมไทยมีความนุ่ม เนียน แน่น มาก ทำอย่างไรจึงจะได้ผ้าชนิดนั้นคืนกลับมา” เหล่าข้าราชบริพารก็ออกเสาะหา จนได้พบผ้าทอไหมน้อยที่ท่าสว่าง เมื่อทอขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นที่พอพระทัย จึงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ สร้างโรงทอผ้าตามรูปแบบราชสำนักโบราณขึ้นที่บ้านท่าสว่างแห่งนี้ เมื่อเข้ามาภายในหมู่บ้าน จะพบกับร้านขายผ้าไหม เรียงรายกันตามเส้นทางถนนหลายร้าน ทั้งในรูปแบบของผ้าถุง เสื้อ กระเป๋า กางเกง สนนราคาเริ่มที่หลักพันจนถึงหลักหมื่น
    จากนั้นเข้าไปเยี่ยมชม  โรงทอผ้าไหมจันทร์โสมา โรงทอผ้าไหมตามรูปแบบราชสำนักโบราณในบรรยากาศร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่  ชื่อ“จันทร์โสมา” คือชื่อของแบรนด์ที่ก่อตั้งโดยอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้ซึ่งถือกำเนิดในตระกูลช่างทอผ้าที่สืบทอดวิชาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ย้อมสีธรรมชาติ และทอเป็นผืนผ้ามาหลายชั่วอายุคน






9. หมู่บ้านอาม็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์





    หมู่บ้านอาม็อง หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จ.สุรินทร์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอีก 1 หมู่บ้านที่อยากจะแนะนำนะคะ คือบ้านอาม็องหมู่ที่ 13 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ค่ะ จุดเด่นของหมู่บ้านนี้คือพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณค่ะ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณที่นี่นะคะได้รวบรวมพระพุทธรูปแกะสลักไม้โบราณที่มีอายุมากกว่า 1000 ปี พระพุทธรูปไม้โบราณที่เก็บสะสมไว้ที่แห่งนี้นะคะมีจำนวนมากกว่า 40 องค์แต่ละองค์ล้วนถูกสร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา จะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ต้องมากันให้ได้นะคะที่บ้านอาม็องหมู่ 13 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ค่ะ






10. หมู่บ้านพญาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์





    จุดเด่นของ “บ้านพญาราม” คือการเลี้ยงไหม ซึ่งเป็นไหมพื้นบ้าน เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวบ้านแถบนี้ มีการอนุรักษ์งานด้านหม่อนไหม มีผ้าไหมสวยงาม มีคุณภาพ นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะสร้างเรื่องราวในการทำแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งกรมหม่อนไหม โดย “ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สุรินทร์” ได้บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพาณิชย์จังหวัด กลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัด กศน. และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ร่วมกันเสนอแผนและจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง กระทั่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
    แหล่งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหมที่นี่ นับเป็นแห่งที่ ๓ จาก ๗ แห่งที่มีแผนดำเนินการเปิดตัว ซึ่งมีการเปิดไปแล้วที่ เชียงใหม่, ลำพูน และ “สุรินทร์” เป็นแห่งที่ ๓ ที่มีจุดเด่นในเรื่องของคุณภาพผ้าไหม คุณภาพของเส้นไหมเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและในตลาดโลก ความชื่นชอบถ้าเป็นในเรื่องคุณภาพของไหมก็จะต้องนึกถึงจังหวัดสุรินทร์ ดังนั้น ในการเปิดแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ตลอดทั้งผู้ที่สนใจเกี่ยวกับในเรื่องของผ้าไหม ผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ก็จะทำให้พี่น้องประชาชนทั่วไปสามารถมาเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของผ้าไหม พร้อมเป็นแหล่งที่จะให้นักเรียน นักศึกษา ที่มีความสนใจและมีการเรียนรู้ในเรื่องของหม่อนไหม สามารถมาใช้ศูนย์เรียนรู้นี้เพิ่มพูนวิชาความรู้ทางด้านหม่อนไหม อีกทั้งอยากจะให้เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของการใช้เป็นอาชีพหลัก บางคนอาจใช้อาชีพรอง ให้เป็นรายได้แก่พี่น้องเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์อีกด้วย






11. หมู่บ้านระไซร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
(ย้ายไปที่ )

“ซแรย์ อทิตยา” แหล่งเรียนรู้เรื่องการเกษตรแบบพอเพียงของจังหวัดสุรินทร์ 

  • ที่อยู่ : บริเวณอ่างเก็บน้ำอำปึลตำบลเทนมีย์อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
  • การเดินทาง: ใช้เส้นทางสายสุรินทร์ – สังขะ หมายเลข 2077 ไปประมาณ 10 กิโลเมตรกลับรถ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านเทนมีย์ ขับต่อไปอีก 10 กิโลเมตร ผ่านอ่างเก็บน้ำบ้านอำปึล “ซแรย์ อทิตยา” จะอยู่ด้านขวามือของอ่างเก็บน้ำบ้านอำปึล
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยว: สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี





    ศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร จ.สุรินทร์ ที่จัดตั้งขึ้นตามแนวพระดำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ตั้งแต่ปี 2558 เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไปได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้วิถีการเกษตร โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ จึงมีพระดำริให้จัดงาน “ทุ่งทานตะวัน ณ บ้านระไซร์ ครั้งที่ 3” พร้อมกับได้เสด็จไปทรงเปิดงานด้วยพระองค์เอง ณ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร  บริเวณอ่างเก็บน้ำอำปึลตำบลเทนมีย์อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์  อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์







12. หมู่บ้านท่าสว่าง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์






    บ้านตากลาง  เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพันระหว่างคนในชุมชนกับช้าง รวมทั้งประเพณี และวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านตากลางแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้น ระหว่างคนกับช้าง ณ บ้านตากลาง จ.สุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก ชาวบ้านตากลาง ดั้งเดิมเป็น ชาวส่วย (กูย) หรือ กวย ที่มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้าง ส่วนมากต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านตากลาง ไม่สามารถไปคล้องช้างเช่นแต่ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้าง และฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้าง (Thailand Elephant show) ของจังหวัดทุกปี ลักษณะการเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลาง เหมือนการเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้านักท่องเที่ยวได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังจะได้สัมผัสการดำรงชีวิตของ ชาวส่วย พร้อมทั้งจะได้พบปะพูดคุยกับหมอช้าง ที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้วหลายครั้งได้ตลอดเวลา รวมทั้งยังสามารถเดินทางชมจุดบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมารวมกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนหย่อนใจ และชวนให้ศึกษาในเชิงของธรรมชาติด้วย ศูนย์คชศึกษา (Thailand Elephant Trip) หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จ.สุรินทร์ เป็นศูนย์รวมของสมาชิกช้างทั้งในบ้านกะโพ ตากลาง และจากหมูบ้านอื่น ๆ ในจังหวัดสุรินทร์มากกว่า 200 ตัว ซึ่งจัดให้เป็นวิถีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันของคนกับช้าง โดยมีทั้งบ้านเรือนของชาวบ้านหรือที่เรียกว่าควาญช้าง และมีที่อยู่ของช้างอยู่ทั่วบริเวณ เป็นวิถีชีวิตที่น่าทึ่งมาก ๆ ไม่ว่าเราจะเดินไปบริเวณไหนเราก็จะพบเห็นช้างอยู่แทบทุกที่ ซึ่งช้างแต่ละตัวก็เป็นช้างแสนรู้น่ารัก ไม่ดุร้าย และสามารถเข้ากับคนได้ง่าย ช้างบ้านตากลางเป็นช้างบ้านที่เชื่อง นอนร่วมชายคาเรือนเดียวกันกับคน เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ช้างกับคนอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง วังทะลุ เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลและแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกัน ปราสาทนางบัวตูม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดปทุมศิลาวารีปราสาท อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทก่อด้วยศิลาแลง 3 หลัง และตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเดียวกัน วัดพระพุทธบาทพนมดิน เป็นที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประเพณีการแข่งเรือยาวประจำปี ระหว่างเดือนตุลาคมของทุกปี ณ ลำน้ำมูล ฝายน้ำล้นบ้านกุดมะโน เป็นแหล่งน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงามในฤดูฝน เมื่อน้ำลดจะเห็นหาดทรายที่สวยงาม






13. หมู่บ้านตาทิตย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์







    หมู่บ้านช้างบ้านตาทิตย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้รับมอบตราสัญลักษณ์โฮมสเตย์ไทย จากสำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว นายไพฑูรย์ ศิริบูรณ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์มอบหมายให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการพัฒนาบริการโฮมสเตย์ หมู่บ้านช้างบ้านตาทิพย์ โดยมีเป้าหมายพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ปรับปรุงภูมิทัศน์และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จำนวน 1 หมู่บ้าน ในวงเงิน 450,000 บาท ซึ่งการดำเนินการผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามที่คณะกรรมการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ จังหวัดสุรินทร์ จึงร่วมกับตัวแทนจากกรมการท่องเที่ยว ได้ทำการตรวจประเมินในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ณ โฮมสเตย์บ้านตาทิพย์ ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย เรียบร้อยแล้ว และได้รับมอบตราสัญลักษณ์โฮมสเตย์ไทย จากสำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยวแล้ว เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเดอะปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่






14. หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์







    บ้านหนองบัว ได้รับการคัดเลือก 1 ใน 50 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีต้นแบบของกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2561 ปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ส่งเสริมให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัติวิถี ของจังหวัดสุรินทร์ มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย อาทิ กิจกรรมโฮมเสต์ โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศไปสัมผัสกับวิถีชีวิตอย่างใกล้ชิด ทั้งยังมีหัตกรรมพื้นบ้าน ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น






15. หมู่บ้านโสมน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์






    บ้านโสมน เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีความชำนาญในการท่อผ้าไหมสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษอย่างช้านาน ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำการการเกษตร ทำนาข้าวหอมมะลิ เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชทางการเกษตร เสร็จจากฤดูกาลทำนาก็มีอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงหม่อน ท่อผ้าไหมและมีลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน จัดได้ว่าบ้านโสมนทุกครัวเรือนมีการเลี้ยงหม่อนผ้าไหม และย้อมจากสีธรรมชาติจนกลายเป็นอาชีพเสริม ที่มีรายได้เพิ่มจาการทำนาในแตละฤดูกาล 






16.หมู่บ้านตาโต อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์




    บ้านตาโตเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ปู่ยาตายายสอนให้ลูกหลานรู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแล้วน่ามาทอเป็นลวดลายต่างๆเปลี่ยนแปลงประยุกต์ลวดลายไปตามยุคตามสมัยจนกระทั่งปัจจุบันได้ประยุกต์เป็น“ ผ้าไหมมัดหมีข้อยกขิตโคมเจ็ด” ซึ่งลายนี้เป็นลักษณะที่โดดเด่นสะดุดตาลวดลายต่างๆผสมผสานกันได้อย่างลงตัวเนื้อผ้าละเอียดแน่นสม่ำเสมอทำด้วยเส้นไหมแท้และย้อมสีธรรมชาติถือเป็นผ้าไหมที่มีชื่อเสียงกันอย่างแพร่หลายการทอผ้าไหมยังมีลักษณะพิเศษที่มีแตกต่างจากหมู่บ้านอื่นคือมีการยกขิดหากมีการกล่าวถึงผ้าไหมยกขิดแล้วต้องนึกถึง“ ผ้าไหมมัดหมีข้อยกขิดบ้านตาโต” 




17.หมู่บ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์





    วิถีชาวพุทธและมีพิธีกรรมที่สืบทอดกันต่อกันม แต่บรรพบุรุษ“ ข้านพลวงเป็นชุมชนที่สืบสานวัฒนธรรมประเพณีเสน่ห์และจุดเด่น: ผู้คนในชุมชนมีความสามัคคีดำเนินชีวิตแบบหลักเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้สร้างอาชีพการอนุรักษ์ป่าชุมชนจนได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 18 ประเภทชุมชนมาแล้ว“ บ้านพลวง” เป็นชุมชนที่มีโบราณสถานที่เก่าแก่อย่าง“ ปราสาทบ้านพลวง” ซึ่งเป็นศาสนสถานขนาดเล็กหรือภาษาถิ่นเรียก“ สรุก” ลักษณะของปราสาทบ้านพลวงจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นศิลปะขอมแบบปาปวนสร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ก่อสร้างด้วยหินทรายขาวบนศิลาแลงล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวองค์ปราสาทมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด x 23 เมตรว่ากันว่าฐานศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นนี้มีความเป็นไปได้จะสร้างปราสาทขึ้นมา 3 องค์บนฐานเดียวกัน แต่อาจเหตุการณ์สำคัญเช่นเกิดสงครามเกิดโรคระบาดหรือเกิดความแห้งแล้งเลยทำให้การสร้างปราสาทหยุดชะงักไปคู่มือชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี






18. หมู่บ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท 
จังหวัดสุรินทร์






    หมู่บ้านท่องเที่ยวการผลิตผ้าไหมและกิจกรรมบ้านพัก Home Stay บ้านโพธิ์กอง หมู่ที่ 3 ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ วัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้ง หมู่บ้านผ้าไหม (Thai Silk Village) เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ทางด้านการตลาดให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม การอนุรักษ์ภาษาเขมรถิ่นไทย กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ไหมของชุมชนแบบครบวงจร และต้นกำเนิดการละเล่นกะโน้ปติงตอง...






19. หมู่บ้านกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์






    บ้านกันตวจระมวล เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงการเกษตรที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีความรักสามัคคีต่อกันและมีการปลูกพืชผักอินทรีย์ปลอดสารพิษไว้รับประทานในครอบครัวมีการทอผ้าไหมที่เป็นลายเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน





20. หมู่บ้านทัพไทย อำเภอปราสาท 
จังหวัดสุรินทร์






    บ้านทัพไทย สุรินทร์ บ้านที่เป็นที่พักกองทัพไทยแต่เก่าก่อน มีหนองน้ำที่ช้างศึกไทยได้อาศัยแช่น้ำคลายร้อนบ้านที่มีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่เรียงรายไกลสุดลูกหูลูกตา บ้านที่สงบร่มรื่นเขียวขจีด้วยริ้วข้าวหอมมะลิและข้าวปกาอำปึลโบราณ บ้านที่ยังคงความอบอุ่นของครอบครัวใหญ่แบบดั้งเดิมแต่โบราณยังคงอยู่ ที่เปลี่ยนไปคือการปลูกข้าวไม่ได้ปลูกไว้กินภายในครอบครัวอีกต่อไป มีการรวมกลุ่มกันผลิตข้าวอินทรีย์จนได้รับรองมาตรฐานสามารถส่งขายตลาดในประเทศและต่างประเทศ (มาตรฐานที่กลุ่มดำเนินการขอรับรองคือ ปฐมอินทรีย์, อินทรีย์ระปรับเปลียน, มกท., EU., Bio Suisse และ NOP) ผลิตพืชผักอินทรีย์ เพื่อบริโภคและจำหน่ายตลาดสีเขียว และทำปศุศัตว์อินทรีย์ เพื่อให้กระบวนการทำเกษตรอินทรย์ครบวงจรเพิ่มรายได้ให้สมาชิกในกลุ่ม





21. หมู่บ้านปราสาท อำเภอปราสาท 
จังหวัดสุรินทร์





    เสน่ห์และจุดเด่น เป็นชุมชนนวัตวิถีเชิงเกษตรที่ตั้งอยู่บนเนื้อที่ของขอมโบราณมีปราสาทหินโบราณตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของบ้านปราสาทคือ“ ปราสาทบ้านไพล” เป็นศาสนาสถานในชุมชนหรือ“ สรุก "เป็นปราสาทอิฐ 3 องค์ปราสาทองค์ด้านทิศใต้พังทลายไปหมดสิ้นแล้วสร้างขึ้นตามศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูศิลปะขอมแบบบาปวนเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16-17 หรือประมาณ 900-1,000 ปีมาแล้ว





22. หมู่บ้านด่านเจริญ อำเภอสังขะ
จังหวัดสุรินทร์






    ศูนย์ทอผ้าไหมใน บ้านด่านเจริญ เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี 2542 จนถึงวันนี้เป็นเวลา 20 ปีแล้ว โดยการใช้ภูมิปัญญาประยุค ออกลายผ้าไหม โดยเน้น ลายดั้งเดิม ลายโบราณมาประยุคใช้จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปมีชื่อเสียง ต่อมาจึงได้ส่งงานเข้าประกวดที่ศูนย์ภูพานราชนิเวศ ได้รับรางวัลที่ 1 จากสมเด็จพระบรมราชนีนาถในรัชกาลที่ 9 และได้รับรางวัลระดับที่ 3 ระดับอาเซียนด้วย
    จากนั้นก็ส่งเสริมงานสู่เด็กนักเรียนทำให้เด็กนักเรียนมีอาชีพ ในช่วงเลิกเรียนและปิดภาคเรียน มาพัฒนาฝีมือแล้วนำไปทำที่บ้านหรือจะทำที่ศูนย์ก็ได้ คนในชุมชนมีอาชีพทุกหลังคาเรือน ส่วนน้องๆนักเรียน ก็จะมีรายได้ช่วยครอบครัวอีกทางหนึ่งลดภาระได้รายจ่ายเรื่องค่าเทอมได้ เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมการทอผ้าไหมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างงานสร้างอาชีพ






23. หมู่บ้านหมื่นชัย อำเภอสังขะ 
จังหวัดสุรินทร์






    หมู่บ้านหมื่นชัย หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จ.สุรินทร์ บ้านหมื่นชัย ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นเส้นทางอารยธรรมขอมค่ะ ถ้าใครมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์แล้ว อย่าลืมแวะมาที่นี่คะ รับรองไม่ผิดหวังค่ะ เพราะคุณจะได้พบกับความประทับใจแน่นอนค่ะ





24. หมู่บ้านภูมิโปน อำเภอสังขะ 
จังหวัดสุรินทร์






    บ้านภูมิโปน เป็นหมู่บ้านที่โดดเด่นในเรื่องของการจักสาน งานฝีมือ และยังเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี อีกทั้งยังมีปราสาทภูมิโปน เป็นโบราณสถานของอารยธรรมขอมที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีผู้สืบเชื้อสายเเละตั้งถิ่นฐานติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยองค์ปราสาทภูมิโปน บารายซ้อนบาราย เเละระบบน้ำที่สมบูรณ์ มีภาษาพูด การเเต่งกาย เครื่องดนตรี ประเพณีเเละวัฒนธรรมดั้งเดิมเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน





25. หมู่บ้านพูนทราย อำเภอสังขะ 
จังหวัดสุรินทร์




    หมู่บ้านเส้นทางสายอารยธรรมขอม “ บ้านพูนทราย” เป็นอีกชุมชนที่มีโบราณสถานที่น่าสนใจคือปราสาทยายเหงาที่มีเรื่องเล่าและตำนานมาตั้งแต่สมัยอดีตเมื่อสมัยก่อนมียายคนหนึ่งสามีออกไปทำศึกสงครามเป็นเวลานานยายก็ได้ แต่รอคอยการกลับมาของสามีเลยได้สร้างปราสาทขึ้น แต่ในตำนานไม่กล่าวถึงว่ายายได้พบกับสามีผู้เป็นที่รักหรือไม่ แต่ปราสาทก็ยังปรากฏการสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ปราสาทยายเหงาเป็นศิลปะเขมรแบบนครวัดสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประกอบด้วยปราสาท 3 หลังซึ่งล้อมรอบกำแพงที่ก่อด้วยอิฐศิลาแลงมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 37x37 เมตรมีประตูซุ้มทางเข้า (โคปุระ) อยู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออกตรงกับปราสาทหลังกลาง“ ปราสาทยายเหงา” มีอายุราว 900 ปีมาแล้วซึ่งปัจจุบันได้มีการบูรณะและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2545 มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่เศษ




26. หมู่บ้านขยอง อำเภอสังขะ 
จังหวัดสุรินทร์






    กลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP นวัติวิถี บ้านขยอง ตำบลตาตุม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนพื้นที่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นแหล่งผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP หลากหลายชนิด อาทิ ผลิตภัณฑ์พวงกุญแจจากลูกสะบ้า เสื่อหวาย น้ำแร่ น้ำผึ้งแท้เดือน 5 และยังเป็นพื้นที่ปลูกเงาะ ทุเรียน ลองกอง มะไฟ ที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์
    นายเงิน เอกลาภ ประธานกลุ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP นวัติวิถีบ้านขยอง กล่าวว่า น้ำผึ้งแท้เดือน 5 เป็น 1 ในผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากผึ้งป่า หรือผึ้งหลวง โดยผึ้งหลวงจะนำเกสรดอกไม้มาผสมเป็นน้ำ ทำให้เกิดเป็นน้ำผึ้งแท้ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี ปีละครั้งเท่านั้น ซึ่งชาวบ้านขยองจะนำน้ำผึ้งแท้ ออกมาจากป่าชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อนำมาทำเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรค และนำมาบรรจุเป็นน้ำผึงแท้ ขนาด 200 ซีซี จำหน่ายราคา 150 บาท และขนาด 700 ซีซี จำหน่ายราคา 400 บาท นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์น้ำแร่ที่นำน้ำจากน้ำซับบริเวณเนิน 400 บนเทือกเขาพนมดงรัก นำมากรองที่โรงกรองน้ำดื่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP บ้านขยอง เพื่อผลิตแปรเป็นน้ำแร่จากธรรมชาติจำหน่ายให้ชุมชนและนักท่องเที่ยว อีกด้วย ส่วนพวงกุญแจลูกสะบ้า เป็นการนำลูกสะบ้ามาแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม เพื่อเป็นของขวัญของฝากที่แปลกไปจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สำหรับเสื่อหวายเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ที่ชาวบ้านได้มีการปลูกหวายและนำมาจากป่าชุมชน และนำมาจักสานเป็นเสื่อหวายที่มีคุณภาพ สวยงาม และทนทาน นอกจากนี้ ในพื้นที่บ้านขยอง ถือเป็นพื้นที่ปลูกเงาะ ทุเรียน ลองกอง มะไฟ ที่สำคัญตลอดพรมแดนไทย-กัมพูชา ที่สามารถสร้างรายได้ และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสุรินทร์ อีกด้วย





27. หมู่บ้านขามพัฒนา อำเภอสังขะ 
จังหวัดสุรินทร์




    หมู่บ้านขามพัฒนา หมู่ 12 ต.ทับทัน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ พล.ต.เลียบ จันทร์สุขโข หัวหน้าคณะตรวจประเมินผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพไทย ประจำปี 2561 และคณะฯ ได้เข้าตรวจหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ หมู่บ้านขามพัฒนา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กองร้อยตำรวจตะเวนชายแดนที่ 214 โดยมีนายเรืองยศ ลิ้มตะกูล นายอำเภอสังขะ หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ และชาวบ้าน ให้การต้อนรับ และพาลงพื้นที่ ชมการทำการเกษตรทฤษฏีใหม่ การเลี้ยงสัตว์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถลืมตา อ้าปากได้ หมดภาระหนี้สิน ที่สำคัญสามารถยืนอยู่ได้ บนแข้งขาของตนเองได้อย่างยั่งยืน





28. หมู่บ้านประทุน อำเภอศีขรภูมิ 
จังหวัดสุรินทร์




    บ้านประทุน ผ้าไหมไทยลายพื้นบ้าน สินค้า OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมสุรินทร์ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมยกดอกลูกแก้ว ผ้าไหมสีพื้นเนื้อหนา ผ้าไหมสีพื้นเนื้อเรียบ ผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอ ผ้าไหมมัดหมี่ 3 ตะกอ ผ้าไหมยกดอกสุรินทร์ ผ้าไหมยกดอกลูกแก้วมัดหมี่






29. หมู่บ้านไทร อำเภอศีขรภูมิ 
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านไทร หมู่บ้านแห่งวิถีชีวิตที่พอเพียงและเปี่ยมด้วยมิตรไมตรีโดดเด่นเรื่องภูมิปัญญาการย้อมไหมจากธรรมชาติ จนเป็นที่รู้จักในนามชุมชนผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติจากไม้มงคลต่างๆ ในหมู่บ้านจนได้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าไหมจากสีธรรมชาติเพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้ศึกษาศิลปะการออกแบบลวดลายการทอการย้อมจากภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นที่โดดเด่นเฉพาะตัวไม่ซ้ำใครมีการประยุกต์ลายและวิธีการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อให้ทันสมัยตามความต้องการของตลาด





30. หมู่บ้านช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ 
จังหวัดสุรินทร์






    หมู่บ้านช่างปี เป็นชุมชนเส้นทางการท่องเที่ยวสายอารยธรรมขอมซึ่งมีประวัติมายาวนานคำว่า "ช่างปี” แปลว่าช่างปั้นหม้อดินโบราณหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือปราสาทช่างปี่และเศษสร้างเตาเผาหม้อดินสมัยโบราณปราสาทช่างปีสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ลักษณะมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยอิฐศิลาแลงและหินทราย




31. หมู่บ้านสมบูรณ์ อำเภอศีขรภูมิ 
จังหวัดสุรินทร์






    เสน่ห์ของชุมชน บ้านสมบูรณ์ เป็นชุมชนริมน้ำ จึงมีการสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตคนกับน้ำ เช่นประเพณีสงกรานต์ริมอ่าง การละเล่นรำสวิง รำช้อนแมงดา ที่สำคัญสำหรับนักชิมมีเมนูอาหารเด็ดจากปลาอ่างลำพอก หลามปลา หมกปลา ปลาอ่างต้มแซบมะดัน ด้านการอนุรักษ์มีฝูงควายที่ชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้นับร้อยตัวหากินหญ้าที่อยู่ใต้น้ำในอ่างลำพอก ซึ่งมีแห่งเดียวในภาคอีสาน จนได้รับการขนานนามจากนักท่องเที่ยวว่า หมู่บ้านควายน้ำแห่งภาคอีสาน มีฝูงนกเป็ดน้ำที่อพยพหนีหนาวมาตามฤดูกาลและนกนานาพันธุ์ที่หากินเคียงคู่กับอ่างลำพอกจนนักส่องนกต้องห้ามพลาด ด้านความสวยงานตามธรรมชาติ อ่างลำพอกยังมีธรรมชาติจากวิวทิวทัศน์โดยรอบอ่างเก็บน้ำที่สวยงามน่าประทับใจโดยเฉพาะในช่วงพระอาทิตย์อัสดงที่ลำพอกสวยงามน่าประทับใจ  จากศักยภาพดังกล่าว ประชาคมหมู่บ้านจึงเห็นพร้องต้องกันพัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์ ตำบลกุดหวายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในรูปแบบของชุมชนท่องเที่ยวโอท๊อปนวัตวิถี ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันของคนในชุมชนและก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชนอย่างแน่นแคว้น โดยใช้ชื่ออันเป็นสโลแกนในการท่องเที่ยวว่า “สัมผัสวิถีชีวิตคนริมอ่าง มหัศจรรย์ควายน้ำ”





32. หมู่บ้านกุดหลวง อำเภอรัตนบุรี
จังหวัดสุรินทร์







    บ้านกุดหลวง เป็นหมู่บ้านสายท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ "สัญญาฮักข้าวดอ" 
    บ้านกุดหลวง เป็นชุมชนที่อยู่ใกล้ลุ่มแม่น้ำมูล ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มีแม่สายหลักอย่างแม่น้ำมูล คอยหล่อเลี้ยงคนในชุมชนแห่งนี้





33. หมู่บ้านจาน อำเภอรัตนบุรี 
จังหวัดสุรินทร์







    บ้านจานเป็นชุมชนมีวิถีชีวิตที่พอเพียงอยู่ใกล้ชิดแม่น้ำที่เป็นแหล่งประมงอันสำคัญของชุมชนหรือเรียกภาษาท้องถิ่นว่า“ การสุ่มฮอยในการหาปลา "เป็นชุมชนที่เต็มไปด้วยวัตถุดิบที่ขึ้นตามธรรมชาติสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างต้นกกและสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของขนาดอายุต้นกกผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจึงมีความคงทนแข็งแรง





34. หมู่บ้านแข้ด่อน อำเภอรัตนบุรี 
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านแข้ด่อนหมู่บ้านท่องเที่ยวนวัตวิถีเชิงธรรมชาติเป็นชุมชนที่ก่อตั้งเป็นเวลานานเมื่อปี พ.ศ. 2433 และตั้งอยู่ใกล้กับห้วยทับทันที่เป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์เล่ากันว่าเมื่อชาวบ้านมาทำการเกษตรใกล้กับหนองแคและหนองฝายน้อยได้พบจระเข้เผือกเกิดความตกใจกลัวจึงใช้ปืนแก๊ปยิ่ง แต่จระเข้ไม่ตายกลับวิ่งหนีลงห้วยทับทันจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ บ้านแข้ต่อน (ดอน แปลว่า เผือก) 
    อีกหนึ่งเสน่ห์ : ค่ายมวยชุมชน“ ค่ายมวยเกียรติมาลัยทอง” เป็นกิจกรรมเพื่อสนับสนุนเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดและให้เยาวชนได้เรียนรู้ศิลปะการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์





35. หมู่บ้านขุนไชยทอง อำเภอชุมพลบุรี 
จังหวัดสุรินทร์



    บ้านขุนไชยทองได้รับมรดกสืบทอดการเลี้ยงช้างมาจากรุ่นปู่ย่าตายายซึ่งถือเป็นชุมชนหมู่บ้านช้างต้องห้ามที่เกิดจากโครงการ "พาช้างกลับบ้านนำควาญคืนถิ่น” เป็นการแก้ปัญหาข้างเร่ร่อนให้กลับมารวมตัวกันที่บ้านเกิดโดยมีมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้สนับสนุนโดยชุมชนที่นี้เป็นชุมชนช้างต้องห้ามคือ“ ห้ามใช้โซ่”“ ห้ามใช้ตะขอ" "ห้ามขี่ทารุณกรรมหรือแสดง” ชุมชนบ้านขุนไชยทองนี้เป็นวิถีชีวิตของคน“ ลาวกูย” ที่มีวิถีการเลี้ยงช้างเสมือนสมาชิกในครอบครัวถ้านักท่องเที่ยวมาเยือนชุมชนแห่งนี้ก็มีที่พักโฮมสเตย์แบบพื้นบ้านรองรับและให้นักท่องเที่ยวเลือกเข้าพักตามความพอใจ





36. หมู่บ้านดู่นาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี 
จังหวัดสุรินทร์






    หมู่บ้านเส้นทางสายไหม อีกหนึ่งหมู่บ้านของจังหวัดสุดรินทร์ ที่อยากจะแนะนำนะคะ ก็คือบ้านดู่นาหนองไผ่ค่ะ ที่นี่ก็ถือว่ามีธรรมชาติที่สวยงามมากๆเลยนะคะ และไฮไลท์พิเศษของสถานที่แห่งนี้ก็คือ บ่อน้ำที่เป็นสีเขียวมรกตและน้ำที่ใสมากๆเลยค่ะ ใครที่อยากจะเที่ยวชมวิถีธรรมชาติของชุมชนสุดแสนน่ารักแห่งนี้ ก็มาเที่ยวกันได้นะคะที่บ้านดู่นาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ค่ะ






37. หมู่บ้านม่วงสวรรค์ อำเภอชุมพลบุรี 
จังหวัดสุรินทร์


    ทะเลสาบทุ่งกุลาที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญหล่อเลี้ยงผู้คนในเขตพื้นที่เดิมเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ของบ้านโพนม่วงหมู่ที่ 10 มีเนื้อที่ 750 ไร่ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์ที่จะให้ตำบลอำเภอและจังหวัดต่างๆจัดหาที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้เป็นที่สาธารณะประจำตำบลหรือหมู่บ้านชาวบ้านโพนม่วงจึงมีประชาคมใช้เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ของหมู่บ้านต่อมาปี พ.ศ. 2526 ด้วยมีประชากรจำนวนมากเกินความสามารถของผู้ใหญ่บ้านจะดูแลได้ทั่วถึงจึงมีการแยกหมู่บ้านหมู่ที่ 16 บ้านม่วงสวรรค์และทำเลเลี้ยงสัตว์ได้ไปอยู่ในปกครองของหมู่บ้านม่วงสวรรค์ด้วยการแยกตั้งตำบลใหม่ของตำบลหนองเรือหมู่ที่อยู่ท้าย ๆ จึงเลือนลำดับมาแทนหมู่ที่ว่างลงจึงได้กลายมาเป็นบ้านม่วงสวรรค์หมู่จากที่ 7 จนถึงปัจจุบัน





38. หมู่บ้านวังศิลา อำเภอชุมพลบุรี 
จังหวัดสุรินทร์






    หมู่บ้านวังศิลา หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จ.สุรินทร์ บ้านวังศิลาอีก 1 หมู่บ้านท่องเที่ยว TOP นวัตวิถีเส้นทางเกษตรที่อยากจะแนะนำนะคะ ที่นี่เต็มไปด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชุมชนค่ะ

มาถึงบ้านวังศิลาแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือปลาไหลค่ะ ปลาไหลของที่นี่ตัวอ้วนใหญ่สีเหลืองทองเนื้อแน่น อร่อยมากๆเลยค่ะ ถ้าใครมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์แล้ว อย่าลืมแวะมาที่นี่ รับรองไม่ผิดหวังค่ะ เพราะคุณจะได้พบกับความประทับใจแน่นอนค่ะ บ้านวังศิลาหมู่ 9 ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์






39. หมู่บ้านซาด อำเภอชุมพลบุรี 
จังหวัดสุรินทร์





    ชุมชน otop นวัตวิถี บ้านซาด กราบสักการะพระมหาธาตุเจดีย์ศรีอุดม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ประดิษฐานในวัดประชาสังคม พบกับวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง หัตถกรรมจักสาน ทอผ้าไหม แหล่งน้ำธรรมชาติห้วยน้ำเค็ม มาแล้วจะไม่อยากกลับ ชุมชน otop นวัตวิถี บ้านซาด




40. หมู่บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านตะเคียนเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายแดนไทยกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเส้นทางผ่านของหมอช้างชาวไทยอีสานเขมรกวยหรือกูยที่ไปจับช้างป่าที่ประเทศกัมพูชา แต่สันนิษฐานได้ว่าผู้คนที่มาบุกเบิกแผ้วถางป่าซึ่งรกชันเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่นี้




41. หมู่บ้านสองหนอง อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์






    บ้านสองหนองเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใน 8 เส้นทางสายชาติพันธุ์เขมรลาวกวยที่สำคัญที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายด้วยอาชีพหลักคือการทำเกษตรแบบผสมผสานส่วนใหญ่คนในชุมชนแห่งนี้จะมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถานที่เคารพกราบไหว้ก็คือ“ ศาลปู่ตา” ประจำหมู่บ้านสิ่งที่น่าสนใจของชุมชนนี้คือเป็นบ้านเกิดของแชมป์นักมวยขวัญใจชาวไทยที่มีชื่อเสียงอย่าง“ บัวขาวบัญชาเมฆ” ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลัก“ ค่ายมวยเกียรติ "ยังได้สร้างนักมวยเยาวชนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมาแล้วหลายคน



42. หมู่บ้านโคกสะอาด อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์




    บ้านโคกสะอาดเป็นชุมชนที่มีวิถีการดำรงชีวิตยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนกลายเป็นประเพณีชุมชนบ้านโคกสะอาดยังเคยได้รับรางวัล
“ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข” ดีเด่นระดับจังหวัดประจำปี 2558 เพราะชุมชนแห่งนี้มีความรักสามัคคีรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามเพื่อสืบทอดให้ลูกหลานในยุคปัจจุบันได้เรียนรู้ในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ







43. หมู่บ้านบก อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์


    บ้านบก เป็นหมู่บ้านเส้นทางหัตถกรรมจักสาน ที่มีเส้นทางเชื่อมโยงกับชุมชนอื่นๆ อย่างสะดวกสบาย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้คนในชุมชนมีอัธยาศัยที่เป็นมิตรไมตรี ยิ้มแย้ม แจ่มใส ต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตร





44. หมู่บ้านเกาะแก้วพัฒนา อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์




    บ้านเกาะแก้วพัฒนาเป็นหมู่บ้านที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันได้อย่างเหนียวแน่นมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีวิถีชีวิตแบบผสมผสานในทางวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างลงตัว




45. หมู่บ้านเชียงสง อำเภอจอมพระ
จังหวัดสุรินทร์




    หมู่บ้านเชียงสง หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จ.สุรินทร์ บ้านเชียงสง หมู่ที่ 17 ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ค่ะ หมู่บ้านเชียงสงนะคะเป็นหมู่บ้านเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

ท่านใดที่กำลังจะมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์อย่าลืมมาแวะเที่ยวกันที่บ้านเชียงสงด้วยะคะ





46. หมู่บ้านผือ อำเภอจอมพระ
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านผือ เป็นอีกชุมชนหนึ่ง ที่อยู่ในสายท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายและพอเพียง ตามแนวคิดของพ่อหลวง ร.9 เป็นหมู่บ้านที่รักษาวัฒนธรรมประเพณีตามวิถีชาวพุทธ ภายในวัดโพธิ์ศรี ยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ใหญ่ ที่เป็นเอกลักษณ์ มีอายุกว่า 100 ปี




47. หมู่บ้านหนองซำ อำเภอจอมพระ
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านหนองช้ามีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ผู้คนในชุมชนมีวิถีชีวิตที่ดำเนินไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเสน่ห์ของชุมชนแห่งนี้คือการสืบทอดภูมิปัญญาการทำดอกไม้ประดิษฐ์ที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้จากท้องถิ่นเช่นดอกหญ้าเปลือกข้าวโพดเถาวัลย์ใยบวบลูกประดู่และไม้ไผ่เป็นต้นคนในชุมชนแห่งนี้มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเอาเส้นใยพืชหรือเศษวัสดุจากธรรมชาติมาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสร้างรายได้ให้คนในชุมชนเช่นดอกไม้ประดิษฐ์บ้านหนองซ้ำยิ่งไปกว่านั้นชุมชนแห่งนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น




48. หมู่บ้านหนองเหล็ก อำเภอจอมพระ
จังหวัดสุรินทร์




บ้านหนองเหล็กเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีเกษตรเดิมเป็นบ้านหนองเหล็กตำบลหนองสนิทขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอจอมพระจังหวัดสุรินทร์ต่อมาได้ยกฐานะตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ 5 สิงหาคม 2523 ในตำบลลุ่มระวีมาจนถึงทุกวันนี้เป็นชุมชนหนึ่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมายขุดเจาะน้ำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกฤดูมีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ“ ห้วยระวี "ที่มีน้ำหล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน | ได้ตลอดทั้งปีและมีแร่เหล็กอยู่มากมายจึงเป็นที่มาของชื่อ“ บ้านหนองเหล็ก"




49. หมู่บ้านโนนงิ้ว อำเภอจอมพระ
จังหวัดสุรินทร์






    บ้านโนนงิ้วเคยประสบปัญหาเรื่องการทำเกษตรด้วยสารเคมีในนาข้าวจนทำให้สัตว์ทุกชนิดหายไปเพราะผลกระทบจากสารเคมีเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆหมู่บ้านแห่งนี้เลยรณรงค์การหยุดใช้สารเคมีไปช่วงระยะหนึ่งประมาณ 10 ปีอย่างต่ำและหลังจากนั้นธรรมชาติก็กลับมาอุดมสมบูรณ์เพราะพื้นนาปราศจากสารเคมีพืชผักสัตว์ทั้งหลายมีอย่างอุดมสมบูรณ์เสน่ห์ของคนในชุมชนบ้านโนนงิ้วที่นี้ทำนาอินทรีย์กันทุกครัวเรือนเพราะใส่ใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นประโยชน์จากการไม่ใช้สารเคมีที่ดีทั้งต่อตัวส่งคนสัตว์และสิ่งแวดล้อมทั้งในและรอบ ๆ ชุมชน




50. หมู่บ้านพลับ อำเภอสนม
จังหวัดสุรินทร์


บ้านพลับ เส้นทางสายวิถีเกษตรสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานที่ผู้นำชุมชนมีการบริหารจัดการที่ดีให้ชุมชนมีระเบียบแบบแผนสะอาดสวยงามและยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชนเอาไว้ให้สืบทอดรุ่นสู่รุ่น





51. หมู่บ้านสำโรง อำเภอสนม
จังหวัดสุรินทร์







    บ้านสำโรงเป็นชุมชนที่อนุรักษ์การทอผ้าฝ้ายที่ย้อมจากสีธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ปลอดภัยกับสุขภาพและเป็นมิตรกับธรรมชาติเป็นศูนย์เรียนรู้และเผยแพร่การทอผ้าฝ่ายจากสีธรรมชาติของคนทั่วไปและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนจนรวมกลุ่มและได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าฝ้ายบ้านสำโรงที่ย้อมจากสีธรรมชาติโดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแบบดั้งเดิมเช่นสีจากเปลือกไม้ต่างๆจากครั้งและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเป็นที่รู้จักทั่วไปและได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชนตามโครงการความร่วมมือพิเศษด้านวิชาการไทย-โออิตะตามโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์







52. หมู่บ้านหนองขุนศรี อำเภอสนม
จังหวัดสุรินทร์



    บ้านหนองขุนศรีแหล่งเห็ดหลินจือแดงเมืองช้าง "ปณิธานฟาร์ม" เป็นชุมชนนวัตวิถีเส้นทางเกษตรแบบผสมผสานเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองเพื่อพัฒนาและต่อยอดให้มีรายได้เข้ามาในครอบครัวจนกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพึ่งพาตนเองขึ้นตามวิถีชีวิตเกษตรพอเพียงบ้านหนองขุนศรีจนกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ของคนทั่วไปและสามารถผลิตเห็ดหลินจือแดงออกสู่ตลาดทั่วประเทศจนเป็นที่รู้จักในนาม“ หลินจือแดงเมืองช้าง”




53. หมู่บ้านหนองหลัก อำเภอสนม
จังหวัดสุรินทร์



    จากหนองน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีหลักศิลาผาแดงโผล่พ้นจากเหนือดินซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนในรุมบน เสน่ห์และจุดเด่น เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตเกษตรพอเพียงแบบผสมผสานมีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการละเล่นดั้งเดิมเพิ่งบั้งไฟ” ซึ่งเป็นประเพณีการฟ้อนรำเพื่อขอฝนและนอกเหนือจากนั้นที่บ้านหนองหลักยังมีการอนุรักษ์การแกะสลักไม้ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ






54. หมู่บ้านเขื่อนแก้ว อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์





    ชุมชนบ้านเขื่อนแก้วแหล่งโรงงานทอผ้าไหมนิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหมในพระบรมราชานุเคราะห์ทอผ้าไหมส่งออกเป็นธุรกิจในชุมชนจัดเป็นโรงงานระดับจังหวัดที่สร้างงานสร้างเงินให้ผู้คนในพื้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินโครงการเลี้ยงไหมของจังหวัดสุรินทร์โดยจัดสรรที่ดินให้ราษฎรผู้ยากไร้เข้าประกอบอาชีพปลูก  หม่อน-เลี้ยงไหมซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ได้ดำเนินการในรูปแบบของนิคมสร้างตนเองจัดตั้งเป็น "นิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหมจังหวัดสุรินทร์” โดยครอบคลุมพื้นที่จำนวน 3 หมู่บ้านซึ่งหนึ่งในสามนั้นคือชุมชนบ้านเขื่อนแก้วหมู่ 13 ตำบลกาบเชิง





55. หมู่บ้านตะเคียน อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านตะเคียนเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายแดนไทยกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเส้นทางผ่านของหมอช้างชาวไทยอีสานเขมรกวยหรือกูยที่ไปจับช้างป่าที่ประเทศกัมพูชา แต่สันนิษฐานได้ว่าผู้คนที่มาบุกเบิกแผ้วถางป่าซึ่งรกชันเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่นี้





56. หมู่บ้านโคกกลางสามัคคี อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านนโคกกลางสามัคคีมีวิถีชีวิตที่มีเสน่ห์มีลักษณะหลากหลายทางเชื้อชาติที่อยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคีมีการตื่นตัวที่จะก้าวเข้าสู่ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีเห็นได้จากการต้อนรับนักท่องเที่ยวหรือแขกผู้มาเยือนอย่างอบอุ่นและเป็นมิตรไมตรีมีความร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาและชุมชนแห่งนี้ยังสืบทอดการทอผ้าไหมมาตั้งแต่บรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นได้รับรางวัล "บ้านสวยเมืองสุข” ระดับภาคปี 2559 



57. หมู่บ้านโคกสะอาด อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านโคกสะอาดเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถีที่มีชื่อเสียงด้านการทอเสื่อกกระดับ 5 ดาวเป็นเครื่องการันตีมาตรฐานของสินค้าชุมชนเสื่อกกบ้านโคกสะอาดมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น






58. หมู่บ้านโสรถาวร อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์






หมู่บ้านโสรถาวร หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จ.สุรินทร์ ม.4 ต.คูตัน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์

หมู่บ้านนี้อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวสายเกษตร จ.สุรินทร์ ถ้าใครมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์แล้ว อย่าลืมแวะมาที่นี่ รับรองไม่ผิดหวัง เพราะคุณจะได้พบกับความประทับใจแน่นอน






59. หมู่บ้านด่านพัฒนา อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์





หมู่บ้านด่านพัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติค่ะ หมู่บ้านด่านพัฒนาตั้งอยู่ที่หมู่14 ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ค่ะ เมื่อมาถึงบ้านด่านพัฒนาแล้วเราจะพลาดไม่ได้กับการไปที่ด่านชายแดนถาวรช่องจอมค่ะซึ่งด่านนี้อยู่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านประเทศกัมพูชา ด้วยนะคะ ใครที่อยากมาท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและข้ามไปยังฝั่งเพื่อนบ้าน แอดมิน ออยแนะนำที่นี่เลยค่ะบ้านด่านพัฒนาหมู่ที่ 14 ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิงจังหวัดสุรินทร์ค่ะ







60. หมู่บ้านประดู่ทอง อำเภอลำดวน
จังหวัดสุรินทร์



    บ้านประดู่ทองดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงยังคงอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่ปู่ย่ายายได้ปฏิบัติมาและยังคงอนุรักษ์การทอผ้าไหมแบบดั้งเดิมตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมการย้อมการสาวไหมตลอดจนการทอการดำเนินชีวิตในแบบโบราณของคนในชุมชนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดด้วยการอนุรักษ์บ้านโบราณความเป็นอยู่แบบโบราณเอาไว้ให้อยู่คู่ชุมชนบ้านประดู่ทอง




61. หมู่บ้านทับมะระ อำเภอลำดวน
จังหวัดสุรินทร์




    บ้านประดู่ทองดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงยังคงอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่ปู่ย่ายายได้ปฏิบัติมาและยังคงอนุรักษ์การทอผ้าไหมแบบดั้งเดิมตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมการย้อมการสาวไหมตลอดจนการทอการดำเนินชีวิตในแบบโบราณของคนในชุมชนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดด้วยการอนุรักษ์บ้านโบราณความเป็นอยู่แบบโบราณเอาไว้ให้อยู่คู่ชุมชนบ้านประดู่ทอง


62. หมู่บ้านตาปุม อำเภอลำดวน
จังหวัดสุรินทร์



    
    บ้านตาปุมเดิมชื่อบ้านหนองกระทมต่อมามีนายพรานจับช้างป่ามานอนตายอยู่ที่หนองน้ำกระทมแห่งนี้จึงเรียกหนองกระทมเป็นบ้านตากุมมาจนทุกวันนี้บ้านตาปุ่มเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลายมีความโดดเด่นในเรื่องความสามัคคีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบเครือญาติอยู่ร่วมกันแบบพี่น้องและผูกพันกันอย่างเหนียวแน่นมาโดยตลอด



63. หมู่บ้านจรัสพัฒนา อำเภอบัวเชด
จังหวัดสุรินทร์


    ความโดดเด่นที่เป็นเสน่ห์ หมู่บ้านไทยเชื้อสายเขมรเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและยังคงรักษาประเพณีโบราณเอาไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดรุ่นสู่รุ่นหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงความอุดมสมบูรณ์วิถีชีวิตจะอยู่กับธรรมชาติลำน้ำภูเขาน้ำตกและยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่“ อ่างเก็บน้ำบ้านจรัส” ที่มีเนื้อที่ 1,328 ไร่จุน้ำได้ถึง 15 ล้านลูกบาศก์เมตรเป็นท่าเทียบเรือที่สำคัญที่นำนักท่องเที่ยวไปชม "น้ำตกไตรคีรี” ที่สวยงามอีกแห่งของชุมชนบ้านจรัสพัฒนา



64. หมู่บ้านนากลาง อำเภอบัวเชด
จังหวัดสุรินทร์




    บ้านนากลางเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายมีการทำเกษตรแบบผสมผสานและใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนแห่งนี้จะมีป่ากกที่ขึ้นตามธรรมชาติและจะเห็นขึ้นอยู่โดยทั่วไปเป็นวัสดุที่ชาวบ้านนำมาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและช่วยสร้างรายได้ให้ครอบครัวไปอีกทาง


65. หมู่บ้านประเม อำเภอบัวเชด
จังหวัดสุรินทร์


    บ้านประเมเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีวิถีชีวิตแบบพอเพียงทำการเกษตรอินทรีย์และยังคงรักษาสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา แต่บรรพบุรุษให้ชนรุ่นหลังได้รู้จักและสืบทอดต่อไปและยังมีค่ายมวยให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เรียนรู้ศิลปะการต่อสู้“ มวยไทย”



66. หมู่บ้านตาปิม อำเภอบัวเชด
จังหวัดสุรินทร์



    บ้านตาปิมมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ“ สะพานร่วมใจ” ที่สร้างจากไม้เก่าแก่อายุราว 50 ปีมาแล้วที่ซื้อมาจากศาลากลางหมู่บ้านและนำไปสร้างศาลาที่พักในป่าช้าชาวบ้านมีความเชื่อว่าไม้ในป่าข้าไม่ควรนำเข้าหมู่บ้านเลยลงความเห็นให้นำมาสร้างเป็นสะพานไม้จึงเรียก“ สะพานร่วมใจ "มาจนทุกวันนี้เพื่อข้ามคลองเข้าสู่ชุมชนและยังเป็นจุดพักผ่อนอีกแห่งของหมู่บ้านตาปิมและยังมีต้นยางนาที่อายุ 100 ปีขนาดประมาณ 5 คนโอบที่โดดเด่นอยู่ใจกลางชุมชน


67. หมู่บ้านพนมดิน อำเภอพนมดงรัก
จังหวัดสุรินทร์

    บ้านพนมดินเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงที่สืบทอดประเพณีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการประกอบสัมมาชีพจนเป็นชุมชนตัวอย่างแนวเศรษฐกิจพอเพียง“ 1 ไร่ 1 แสน” เสน่ห์ของบ้านพนมดิน: การทอเสื่อกกที่มีลวดลายไทยสวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น



68. หมู่บ้านสระแก้ว อำเภอพนมดงรัก
จังหวัดสุรินทร์


    บ้านสระแก้วเป็นชุมชนอีกชุมชนหนึ่งที่มีวิถีชีวิตการอยู่อาศัยรวมกันระหว่าง 3 ชนเผ่าคือเขมรลาวส่วยมีวัดป่าแก้วโคกกลางอยู่ในพื้นที่ตำบลมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่าโดยเฉพาะไก่ป่าเป็นจำนวนมากเป็นศูนย์รวมจิตใจและเคารพศรัทธาของคนในชุมชนเป็นชุมชนที่ทำการเกษตรแบบผสมผสานทั้งปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ทอผ้าไหมตั้งแต่บรรพชนจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน


69. หมู่บ้านใหม่พัฒนา อำเภอพนมดงรัก
จังหวัดสุรินทร์



    ธรรมชาติวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านชุมชนแห่งนี้ยังคงมีป่าชุมชนเสน่ห์ของชุมชน: เที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตแบบที่รักษาความอุดมสมบูรณ์ไว้และมีต้นไม้ใหญ่หายากและสมุนไพรต่างๆอีกมากมายในป่าแห่งนี้ชุมชนบ้านใหม่พัฒนามีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายทำการเกษตรแบบไม่พึ่งสารเคมีเป็นชุมชนที่มีการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นหมู่บ้านต้น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์และทำเงินให้ชาวบ้านได้เป็นอย่างดีมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเช่นลายพนมดงรักลายดอกกันเกราลายดอกรักลายลูกยางนาลายลูกแก้วลวดลายแบบโฮล


70. หมู่บ้านหนองแวง อำเภอพนมดงรัก
จังหวัดสุรินทร์




    ผสานวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลเป็นโบราณสถานคือ "ปราสาทตาควาย” หรือบ้านหนองแวงหมู่บ้านที่ทำการเกษตรแบบผสม" หรือปราสาท“ ตาควาย” เขมรเรียก“ กรอเบย” หรือตากะเบยซึ่งหมายถึง“ ควาย” นั่นเองปราสาทตาควายเป็นปราสาทจตุรมุขผังเป็นรูปกากบาทฐานล่างก่อด้วยอิฐศิลาแลงส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายส่วนหลังคาก่อเป็นยอดพุ่มปรางค์ซ้อนลดหลั่นกันเป็น 5 ชั้นปราสาทตาควายเป็นสมรภูมิรบที่สำคัญระหว่างทหารไทยกับทหารเขมรเพราะเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการแบ่งปันเส้นเขตแดนซึ่งบางคนอาจสงสัยว่าตั้งอยู่จุดไหนของชายแดนไทย-กัมพูชา แต่ปัจจุบันนักท่องเที่ยว Thai สามารถเข้าชมได้


71. หมู่บ้านหนองคันนา อำเภอพนมดงรัก
จังหวัดสุรินทร์


    จังหวัดสุรินทร์นอกจากจะขึ้นชื่อว่าเป็นถิ่นช้างแล้ว ที่นี่ยังมีปราสาทหินโบราณอีกหลายแห่ง หนึ่งในนั้นก็คือที่โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง ตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก หนองน้ำโบราณขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยทุ่งนา เป็นที่มาของชื่อบ้านหนองคันนา หมู่บ้านติดชายแดนกัมพูชา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่อพยพมาจากต่างถิ่น อยู่ร่วมกันอย่างแน้นแฟ้นด้วยสายแนนวัฒนธรรมโบราณ มาถึงแล้วก็ต้องมากราบไหว้ศาลปู่ตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ก่อนนั่งอีแต๊กไปยังฐานเรียนรู้จักสานพื้นบ้าน ทดลองทอกกไหล เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งเสื่อ กระเป๋า และหมวก ลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ยังได้ชิม และชมการทำอาหารถิ่นอย่างไส้กรอกสมุนไพร สูตรบ้านหนองคันนา ใช้วัตถุดิบปลอดสารพิษ ยิ่งทานคู่กับบายตะเนิบ หรือข้าวเหนียว อร่อยกลมกล่อมทีเดียวปิดท้ายด้วยการชมกลุ่มปราสาทตาเมือน โบราณสถานศิลปะขอม 3 หลัง ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยมีปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทหลังใหญ่ที่สุด อยู่ตรงเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งสองฝั่งขึ้นมาเยี่ยมเยียนตลอด ได้บรรยากาศเชื่อมสัมพันธ์พี่น้อง พร้อมศึกษาประวัติศาสตร์ไปด้วยกัน





72. หมู่บ้านหม่อนไหมพัฒนา อำเภอศรีณรงค์
จังหวัดสุรินทร์


    
    บ้านหม่อนไหมพัฒนาหมู่ 12 ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวกวยบ้านหม่อนไหมพัฒนายังคงอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาวกวยคือรำแกสมอเพื่อรักษาการเจ็บป่วยตามความเชื่อของชาวกวยภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรแผนโบราณการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจรจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันจุดเด่นเป็นอัตลักษณ์ทอผ้าลายลูกแก้วย้อมมะเกลือที่ยังรักษาการแซวผ้า (การปักผ้า) ไว้ให้อยู่คู่ชุมชน



73. หมู่บ้านคูขาด อำเภอศรีณรงค์
จังหวัดสุรินทร์


    บ้านคูขาดเมื่อสมัยก่อนมีคูน้ำโบราณที่กั้นระหว่างทิศตะวันออกทิศตะวันตก แต่เมื่อถึงฤดูฝนน้ำหลากคูโบราณไม่สามารถกั้นน้ำเอาไว้จึงทำให้น้ำไหลเข้าท่วมหมู่บ้านจึงได้ตั้งชื่อ“ หมู่บ้านคูขาด” มาจนทุกวันนี้ชุมชนแห่งนี้มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายแวดล้อมไปด้วยแหล่งน้ำใหญ่ 3 แห่งจึงทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างดีนอกเหนือจากฤดูการทำนา surrounded ชาวบ้านคูขาดยังมีการทำสวนปลูกผักเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางและมีการรวมกลุ่มเพื่อทอผ้าไหมที่มีลวดลายโบราณดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่ชุมชนนี้


74. หมู่บ้านหนองมะแซว อำเภอศรีณรงค์
จังหวัดสุรินทร์



    บ้านหนองมะแซวเป็นชุมชนชาวกูยที่มีลักษณะโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมของชาวกูยที่มีความผูกพันกับการทำนาซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงทุกวันนี้จะเห็นได้จากพิธีกรรมต่างๆก่อนจะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลทำนาจะมีการเซ่นไหว้ที่ประเพณีวันเช่นปู่ตาเป็นการบวงสรวงภูตผีปีศาจผู้มีอำนาจลึกลับในท้องถิ่นก่อนเริ่มลงมือทำนาและหลังจากทำนาแล้วซึ่งมีทั้งผีประจำบ้านหรือ“ ยะจ๊ฮดุงและผีประจำหมู่บ้านหรือยะจูฮเพรียมการเช่นยะฮนี้จะมีขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เดือน 6 และเดือน 8 ของทุกปีการเช่นในเดือน 3 เพื่อขอบคุณที่ช่วยให้ผลผลิตจากการทำนาอุดมสมบูรณ์ช่วยดูแลขับไล่ศัตรูผลิตผลทางการเกษตรทั้งหลายออกไปจนมีข้าวขึ้นยุ้งฉางเพียงพอที่จะบริโภคได้ทั้งปีเป็นการเช่นหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จและนำข้าวเข้าเก็บในยุ้งฉางเรียบร้อยแล้วและการเช่นในเดือน 6 เป็นการเซ่นขอความอุดมสมบูรณ์ให้กับน้ำท่าน้ำฝนและขอความมงคลก่อนที่จะเริ่มทำนา


75. หมู่บ้านลูกควาย อำเภอศรีณรงค์
จังหวัดสุรินทร์



    บ้านลูกควายเล่ากันว่ามีหนองน้ำสาธารณะอยู่แห่งหนึ่งและมีความอุดมสมบูรณ์มีควายจำนวนมากและมีควายท้องแก่ที่กำลังจะคลอดลูกผู้เฒ่าผู้แก่มาเจอพอดีจึงเรียกหนองน้ำนั้นว่า“ หนองลูกควาย” จึงกลายมาเป็นชื่อหมู่บ้านลูกควายมาจนถึงทุกวันนี้ศูนย์ดูแลสุขภาพแพทย์ทางเลือกชุมชนคือ“ สวนธรรมสุขพอพุทธ” ได้นำเอาภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมมาปรับใช้เพื่อให้คนในชุมชนได้ดูแลสุขภาพตัวเองแบบใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและชุมชนแห่งนี้มีภาษาวัฒนธรรมประเพณีการดำรงชีวิตแบบพอเพียงมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมการแต่งกายตามอัตลักษณ์ของชุมชน


77. หมู่บ้านตากูก อำเภอเขวาสินรินทร์
จังหวัดสุรินทร์





    บ้านตากูกก่อตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 300 ปีมาแล้วมีต้นโพธิ์ใหญ่อายุร่วม 600 ปีเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้คนในชุมชนมากราบไหว้สักการะเป็นที่ตั้งของศาลปู่ตาที่เล่าขานสืบต่อกันว่าต้นโพธิ์แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาคและค่อมกรุสมบัติโบราณตามหลักฐานที่พบคือพระพุทธรูปโบราณหลายองค์ที่โผล่ออกมาจากต้นโพธิ์ใหญ่แห่งนี้


78. หมู่บ้านกันตรง อำเภอเขวาสินรินทร์
จังหวัดสุรินทร์



       บ้านกันตรงหมู่บ้านที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติด้วยป่าชุมชนซึ่งผืนป่าแห่งนี้อยู่คู่ชุมชนมา 200 ปีมาแล้ว“ ป่าปะกัง” เมื่อก่อนเป็นที่นัดพบของหนุ่มสาวจึงเรียกว่า“ ป่าปะกัน” จนเพี้ยนมาเป็น“ ปะกัง” มาจนทุกวันนี้อีกทั้งยังมีผักพื้นถิ่นชนิดหนึ่งที่เกิดตามธรรมชาติมากมายชาวบ้านสามารถน่ามาประกอบอาหารรับประทานได้เรียกว่า“ ผักกันตรง” (อีสานตอนบนเรียกผักก้านตรง) จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามผักชนิดนี้ว่า“ บ้านกันตรง” มาจนทุกวันนี้ะ 4


79. หมู่บ้านพระปืด อำเภอเขวาสินรินทร์
จังหวัดสุรินทร์



    “ บ้านพระปืด” มาจากคำว่า“ ประปิด” ที่เพี้ยนมาจากคำว่า“ เปรียะปีด "ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างภาษาพื้นเมืองไทยกับภาษาของชาวกูยเป็นหมู่บ้านที่มีศาสนสถานที่สำคัญคือ“ ปราสาทแก้ว” หรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นคือ“ ปราสาทพระปิด” ที่ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาทแก้ววัดแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2457 และยังมีสภาพที่สมบูรณ์ใช้งานมาจนถึงปัจจุบันภายในวิหารวัดปราสาทแก้วที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิราบพระเศียรทรงเทริดมีรัศมีเป็นกลีบบัวหงายมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 หรือสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นชาวบ้านเรียก“ พระเสี่ยงทาย” หรือพระปิดองค์เล็กผู้คนส่วนใหญ่จะเดินทางมากราบไหว้นมัสการเพื่อขอพรและเสี่ยงทายโดยการยกองค์พระตั้งจิตอธิษฐานในการเสี่ยงทายด้วยการคุกเข่าใช้สองมือยกองค์พระจำนวน 3 ครั้งโบราณสถานปราสาทแก้วกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกประเทศเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ลักษณะพิเศษของชุมชนแห่งนี้รอบ ๆ ชุมชนจะมีคลองที่เป็นลักษณะกำแพงเมืองล้อมรอบและเชื่อว่ามีมานานประมาณ 4,000 ปีมาแล้วยาวประมาณ 3 กิโลเมตรทำให้ภูมิทัศน์โดยรอบดูร่มรื่นเป็นธรรมชาติ


80. หมู่บ้านสามโค อำเภอเขวาสินรินทร์
จังหวัดสุรินทร์



    “ บ้านสามโควิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมะ” บ้านสามโคก็เป็นอีกชุมชนที่มีการทอผ้าไหมที่มีลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและมีความสวยงามไม่แพ้ชุมชนอื่นและสืบทอดการทอผ้าไหมมา แต่บรรพบุรุษดั้งเดิมและยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสืบไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักเรียนรู้สามารถรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนทำให้มีรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัวสามารถสร้างสัมมาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


81. หมู่บ้านนาตัง อำเภอเขวาสินรินทร์
จังหวัดสุรินทร์



    บ้านนาตัง เป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์เขมรมีสองสามีภรรยามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนด้วยการปลูกพืชและขุดบ่อเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้จึงสังเกตเห็นดินมีลักษณะเป็นชั้น ๆ เหมือนดังเลยลองเอามากินจึงเรียกดินตรงนี้ว่า“ ตั้ง” จึงกลายเป็นที่มาของ "หมู่บ้านนาตั้ง" การผลิตเครื่องประดับเงินทองทองเหลืองของบ้านนาตั้งผลิตโดยกลุ่มหัตถกรรมเครื่องประดับเงินและทองเหลืองก่อตั้งโดยกลุ่มชาวบ้านบ้านนาตั้งอำเภอเขวาสินรินร์และดำเนินงานมากว่าสิบปีแล้วปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มประมาณ 40 คนและเน้นผลิตเครื่องประดับทองเหลืองคราวละมาก ๆ ตามที่ลูกค้าสั่งโดยมีลูกค้าจากในประเทศคือกรุงเทพฯนครราชสีมาแฟละกาญจนบุรีและลูกค้าจากประเทศเพื่อนบ้านเช่นลาวและกัมพูชาถึงแม้จะเน้นผลิตเครื่องประดับทองเหลืองเป็นหลัก แต่ช่างบางท่านก็ทำเครื่องประดับเงินบ้างหากมีเวลาว่างจากการทำเครื่องทองเหลืองปัจจุบันมีการจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์ลงในแคตตาล็อคนำไปจำหน่ายบนเครื่องบินในทุกเส้นทางของการบินไทย


82. หมู่บ้านเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์
จังหวัดสุรินทร์



    “ นุ่งผ้าไหมใส่ปะเกือมเรือมกันตรึม”  ดินแดนแห่งหัตถกรรมอันล้ำค่ามรดกทางภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานบ้านเขวาสินรินทร์จังหวัดสุรินทร์เขวาสินรินทร์มาจากคำว่า“ ขวาว” ต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะลำต้นสูงใหญ่อายุยืนชาวบ้านนิยมนำมาประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นสิริมงคลและคำว่า“ สินรินทร์” เป็นชื่อของอดีตกำนันตำบลเขวาสินรินทร์คือ“ ขุนสินรินทร์บำรุง” ต่อมาได้มีการรวมชื่อเป็น "เขวาสินรินทร์” ชุมชนแห่งนี้ที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมพื้นเมืองที่เรียกว่าผ้าโซล (หรือลายไหล) และผ้ายกดอกและการผลิตลูกประคำเงินที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านเรียกกันว่า“ ลูกปะเกือม” งานหัตถกรรมเครื่องเงิน


83. หมู่บ้านโบก อำเภอโนนนารายณ์
จังหวัดสุรินทร์



    เสน่ห์ของชุมชนบ้านโบก การต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสและอัธยาศัยไมตรีดีการพาไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองซึ่งเป็นพระเศียรทองสัมฤทธิ์ที่ขุดพบได้ในหมู่บ้านแห่งนี้จากนั้นก็ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่นักท่องเที่ยวพร้อมกับชมการแสดงพื้นบ้านด้วยการรำอวยพรที่อ่อนช้อยสวยงามตามแบบฉบับชุมชนบ้านโบก


84. หมู่บ้านโนนน้อย อำเภอโนนนารายณ์
จังหวัดสุรินทร์


    บ้านโนนน้อยใช้หลักการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนพระแก้ว   จำลองที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดโนนน้อยเพราะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้านคู่เมืองชุมชนแห่งนี้ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามตามครรลองของวิถีชาวพุทธเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้สืบทอดกันต่อไปให้นานแสนนาน


85. หมู่บ้านเป็นเย็น อำเภอโนนนารายณ์
จังหวัดสุรินทร์


    หมู่บ้านเป็นเย็น หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จ.สุรินทร์ หมู่บ้านเป็นเย็น ซึ่งอยู่ใน8 เส้นทางท่องเที่ยวหัตถกรรมจักสานครับ การดำเนินชีวิตของชาวบ้านจะสะท้อนถึงการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ มีการดำเนินงานที่เหมาะสมเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่เด่นชัดครับ

สำหรับใครที่อยากสัมผัสวิถีชีวิต และความสุนกแบบนี้นะครับ แอดมินแนะนำที่นี่เลย หมู่บ้านเป็นเย็น ม.8 ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์






****************************

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น