วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ทีมงาน พี่ บิณฑ์ - เอกพัน บรรลือฤทธิ์ ช่วยเหลือช้าง และ ครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19

“ถึงสุรินทร์แล้ว.!!! กราบอนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์จางวาง ผู้สร้างเมืองสุรินทร์ และ ศาลประกำเมือง

ทีมงาน พี่ บิณฑ์ - เอกพัน บรรลือฤทธิ์ และ ท่าน ดร.รัตนา สมสกุลรุ่งเรือง ประธาน #มูลนิธิร่วมกตัญญู ได้นำทีมเจ้าหน้าที่ - อาสา มูลนิธิร่วมกตัญญู และ ทีมเครื่องดื่ม คอมมานโด ไปช่วยเหลือช้าง และ ครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 และ เป็นช้างอพยพคืนถิ่น
ระหว่างวันที่  15  -  17  ก.ค.  63



























กำหนดการ
วันพุธที่  15  ก.ค.  63
เวลา  10.30  น.  ออกเดินทางจาก กทม - สุรินทร์
เวลา  16.30  น.  ถึง จ.สุรินทร์ 
(คณะเข้ากราบสักการะ พระยาสุรินทร์ฯ และศาลปะกำ)

วันพฤหัสที่ 16 ก.ค. 63

เวลา  09.30  น.  ที่หมาย  1  (คชอาณาจักร)
-  เลี้ยงอาหารช้าง  ,  มอบเครื่องมือแพทย์  ประจำ รพ.ช้าง
-  มอบเครื่องอุปโภค - บริโภค 
และเงินช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวช้าง
(มอบเงินช่วยเหลือช้าง  เฉพาะช้างที่ไม่มีเงินเดือน)

เวลา  11.00  น.  ที่หมาย  2  (วัดป่าอาเจียง)
-  เลี้ยงอาหารช้าง  ,  มอบเงินช่วยเหลือช้าง
-  มอบเครื่องอุปโภค - บริโภค 
และเงินช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวช้าง

เวลา  12.00  น.  คณะพักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00  น.  ที่หมาย  3  (วังทะลุ) 
-  เลี้ยงอาหารช้าง  ,  มอบเงินช่วยเหลือช้าง
-  มอบเครื่องอุปโภค - บริโภค 
และเงินช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวช้าง

เวลา  15.00  น.  ที่หมาย  4  (บ้านท่าลาด)
-  เลี้ยงอาหารช้าง  ,  มอบเงินช่วยเหลือช้าง
-  มอบเครื่องอุปโภค - บริโภค 
และเงินช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวช้าง

เวลา  18.00  น.  คณะเดินทางกลับที่พัก

วันศุกร์ที่  17 ก.ค. 63

เวลา  09.00  น.  คณะออกเดินทางจากที่พัก
เวลา  10.00  น.  ที่หมาย 5  (คชศึกษา)
-  เลี้ยงอาหารช้าง  ,  มอบเงินช่วยเหลือช้าง
-  มอบเครื่องอุปโภค - บริโภค 
และเงินช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวช้าง
(มอบเงินช่วยเหลือช้าง  เฉพาะช้างที่ไม่มีเงินเดือน)

เวลา  12.00  น. รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา  13.00  น.  เดินทางกลับ สุรินทร์ - กทม.

🐘🐘🐘🐘🐘🐘🐘
ท่านใดอยู่ใกล้ ไปร่วมทำบุญด้วยกันได้นะครับ
ปลอดโควิด-19 แล้ว...ไปเที่ยวสุรินทร์ กันครับ
.
ทุกท่านยังสามารถร่วมทำบุญช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลก สัตว์น้อยใหญ่ ที่พี่บิณฑ์ มีแพลนจะไปช่วยเหลือในโอกาสต่อๆไป ได้
... 🐘🐅🐕🐑🐂🐄🦌🐎🕊🐒...

📍ชื่อ บัญชี บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ✅
ธนาคาร กสิกรไทย ออมทรัพย์

📌📌เลขที่ บัญชี  4 9 0 1 0 1 7 7 5 7  ✅
(บัญชีช่วยเหลือสัตว์อย่างเดียว)

🙏🏻ขอขอบคุณ น้ำใจคนไทยทุกๆคน ...
ด้วยความห่วงใย เราจะผ่านทุกวิกฤตไปด้วยกัน
#Covid19
#บิณฑ์บรรลือฤทธิ์
#เอกพันบรรลือฤทธิ์
#มูลนิธิร่วมกตัญญู
#คอมมานโด
#ช้างสุรินทร์

ททท.สุรินทร์ จัดกิจกรรมเสวนา Online ในหัวข้อ “ท่องเที่ยววิถีใหม่ New Normal Style”

17 กรกฎาคม 2563
     สสร. จัดกิจกรรมเสวนา Online ในหัวข้อ “ท่องเที่ยววิถีใหม่ New Normal Style” ร่วมกับ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ และนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ
    โดยมีการเสนอ แลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยในรูปแบบ New Normal หลังสถานการณ์การคลี่คลายของไวรัส COVID-19
     เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวรูปแบบวิถีใหม่ รักสุขภาพ ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism) ในพื้นที่ให้เป็นไปตามแผนการตลาดท่องเที่ยวของ สสร. ปี 2563 โครงการ Check In ถิ่นเมืองช้างและดินแดนภูเขาไฟ และเพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการฯ รักษามาตรฐานความสะอาด ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและประชาสัมพันธ์ ผู้ประกอบการฯ ในพื้นที่เข้าร่วมมาตรฐาน SHA โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมรับฟังเสวนาออนไลน์ฯ มากกว่า 50 ราย


อพท.2 จัดประชุมภาคีเครือข่าย และจัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติการด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 14-17 กรกฎาคม 2563 อพท.2 จัดประชุมภาคีเครือข่าย และจัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติการด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อีสานใต้ ณ จังหวัดนครราชสีมา  บุรีรัมย์ และ สุรินทร์ โดยมีการบรรยาย 3 หัวข้อ คือ 1) ความรู้ด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอีสานใต้ 2) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและ 3) หลักเกณฑ์ GSTC กับประเด็นผลกระทบทางวัฒนธรรม
       
การประชุมครั้งนี้ได้ความสนใจเป็นอย่างมากจากสภาวัฒนธรรม (ทั้งระดับภาคและจังหวัด) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัด หน่วยงานท่องเที่ยวและวัฒนธรรมในจังหวัด สถาบันการศึกษา และเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งแสดงความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ / พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และต้องการยกระดับด้านการออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรม / พัฒนาสินค้าบริการ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ลงมือทำกิจกรรม และมีประสบการณ์ใหม่ๆ โดยหวังจะดึงดูดให้มาใช้เวลาอยู่ในพื้นที่นานขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น และสามารถใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอีสานใต้ให้คงอยู่ต่อไปได้ด้วย