วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผ้าไหม ร้อยสี พันลาย เมืองสุรินทร์

  



         ผ้า “ เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจาก อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ในสังคมเกษตรจะมีการทอผ้าเพื่อใช้สอยภายในครอบครัว โดยการถ่ายทอดวิธีการทอผ้าให้แก่สมาชิกที่เป็นเพศหญิง ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม 

         การทอผ้าของไทยมีมาแต่โบราณ จากอดีตถึงปัจจุบันมนุษย์ได้พัฒนาการทอผ้าทั้งรูปแบบ เทคนิคการย้อมสี และการออกแบบลวดลาย ดังปรากฏในจดหมายเหตุและพงศาวดารครั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการทอผ้าตามกลุ่มชนต่างๆของไทย เช่น ข่า กระโส้ กระเลิง ส่วย ฯลฯผ้าทอในประเทศไทยแสดงถึง ศิลปะภูมิปัญญาของชุมชน มีหลายจังหวัดในประเทศไทยที่มีผ้าไหมที่สวยงาม ทั่วทุกภาคแต่ในแต่ละภาคนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปทั้งวิธีการทอ สีที่ใช้ย้อม และเส้นไหมที่ใช้ทอสุรินทร์ถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงด้านผ้าไหม 




         สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นมากกว่า 2,000 ปี มาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมีอำนาจอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานที่ชัดเจน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2306 จึงปรากฏหลักฐานว่าหลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที่ ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณที่เป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ และในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองประทายสมันต์” เป็น “เมืองสุรินทร์” วัฒนธรรมของชาวสุรินทร์ที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน และเป็นที่น่าภาคภูมิเป็นอย่างยิ่งคือ ผ้าไหม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่และมีชื่อเรียกตามภาษาพื้นที่ว่า ผ้าโฮล ผ้าโฮล เป็นผ้าไหมมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่โฮลถือเป็นลายเอกลักษณ์ของลายผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดสุรินทร์ “โฮล” เป็นคำในภาษาเขมรเป็นชื่อเรียก มาทอเป็นผืนผ้า


โดยลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์

-มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชาและลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล

-นิยมใช้ไหมน้อยในการทอซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหมมีลักษณะนุ่มเรียบเงางาม

-นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่นน้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้

-ฝีมือการทอจะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปะที่สวยงามกว่าปกติ

-แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ

การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักมิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใดจนมีคำกล่าวทั่วไปว่า พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก

แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์จึงมีเกือบทุกหมู่บ้านผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่างๆ ได้มากมายหลายแห่งลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์

ผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์เกิดขึ้นจากการทอของชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ วันนี้พวกเราจะพาทุกคนไปรู้จักกับผ้าไหมสุรินทร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการทอที่ปราณีตและใช้เวลาอย่างยาวนาน จะมีลายอะไรบ้างนั้นไปชมกันได้เลย


1..ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ 9 ไม้มงคล




2.ผ้าไหมลายพน็อต ก่มเซร็วเฮิอร พุมข้าวบิณฑ์



3.ผ้าไหมายหัวเข็มขัด



4.ผ้าไหมลายลูกแก้ว 6 ตะกอทอยกดอก ลายหมี (ชื่อขอกลับ)


5.
ผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ   ทอแบบเทคนิค 2 ตะกอ


6.ผ้าไหมโฮลย้อมสีธรรมชาติ



7.ผ้าลายเต่า ย้อมครั่ง



     ผ้าไหมทุกผืนมีเรื่องราว ประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน มีการสืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น ให้คนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่าเเละความงดงามที่บรรพบุรุษของเราได้อนุรักษ์ไว้ เป็นสิ่งที่ลำ้ค่าไม่สามารถประเมินมูลค่าได้เเต่
เต็มไปด้วยความใส่ใจ ความตั้งใจ เเละความปราณีตที่จะถักทอผ้าหนึ่งผืนให้เราได้ชมเป็นบุญตา ดังนั้นเราทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์ผ้าไหมไทยซึ่งเปรียบเสมือนมรดกตกทอดที่บรรพบุรุษของเราได้ให้ไว้ ให้คงอยู่ตลอดไป